ทัศนคติของประชาชนต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในเขตเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • สุนิสา ชุ่มชะอุ่ม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • เกษฎา ผาทอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, ประชาชน, การปกครองระบอบประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในเขตเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ ตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของประชาชนต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในเขตเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ ตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ที่ต่างกัน และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ ตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นการวิจัยแบบ วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ ตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 129 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

 

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ทัศนคติของประชาชนต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยในเขตเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ ได้ดังนี้ ด้านความเสมอภาค ด้านอำนาจอธิปไตย ด้านสิทธิเสรีภาพ และด้านการมีส่วนร่วม 2. เปรียบเทียบทัศนคติของประชาชนต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยในเขตเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ประชาชนที่มีเพศ และระดับการศึกษาต่างกัน มีทัศนคติต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอายุ และอาชีพต่างกัน มีทัศนคติต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ ดังนี้ ภาครัฐควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่พึงมีตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ ส่งเสริมให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสมอภาคที่ประชาชนควรได้รับการคุ้มครองทางด้านกฎหมาย สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และสร้างความเข้าใจในด้านอำนาจอธิปไตยแก่ประชาชน โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ให้ประชาชนได้ทราบถึงอำนาจอธิปไตยที่ถูกต้อง

References

กัญญาภัทร สอนสุดชา. (2560). ความเข้าใจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

จันทจิรา เอี่ยมมยุรา. (2553). เสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ(ออนไลน์). เรียกใช้เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2566 จาก http://www.lrc.go.th/download/document/DocLib/pdf

นพพร ฮะวังจู. (2562). ความรู้ความเข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตยของบุคลากรทางการศึกษาในเขตตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระขจรศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ (ไชยโชติ). (2564). ความเข้าใจในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทรบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย บูรพา.

สุธิดา ประมล. (2565). การศึกษาทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

อุทาน นันตวัน. (2556). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการนำหลักธรรมาภิบาลใช้ในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองเมือง อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28