การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงศ์ บุญพามา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • เกษฎา ผาทอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น, เทศบาลตำบลศาลายา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลศาลายา อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม (2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตําบลศาลายา อําเภอพุทธมณฑลล จังหวัดนครปฐม (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลศาลายา อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่ อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลศาลายา อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จํานวน 387 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย จํานวน 21 ข้อ แบบมาตราส่วนประมาณ ตามวิธีของลิเคอร์ท ซึ่งมี 5 ระดับ มีค่าอํานาจจําแนก (r) ตั้งแต่ 0.451 ถึง 0.84 ค่าความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย,ค่าส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน,การทดสอบสมมุติฐานด้วยการทดสอบค่าที,(t– test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F – test แบบ One- way ANOVA) หากพบความแตกต่างจะทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีเซฟเฟ่

 

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลวิจัย เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการติดตามและประเมินผล ด้านการปฏิบัติ และด้านการวางแผน ตามลำดับ
  2. ผลวิจัย เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พบว่า ประชาชนที่มีระดับการศึกษา ต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ และอายุ อาชีพต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นไม่แตกต่างกัน
  3. ผลวิจัย เพื่อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พบว่า ในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านการวางแผน ควรมีควรมีประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้ข่าวสารของทางราชการในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารในการวางแผนเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ให้มากกว่านี้ เพื่อเป็นประโยชน์ของประชาชนเอง ด้านการปฏิบัติการ ควรจัดทำคู่มือหรือเอกสารที่เกี่ยวกับขั้นตอนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น แจกจ่ายให้กับประชาชนในท้องถิ่นได้รับรู้ข้อมูล ด้านการติดตามและประเมินผล ควรมีการจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจ ในการให้บริการประชาชนเพื่อสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงการบริหารงานของเทศบาลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และควรมีการจัดทำการรายงานผลของการดำเนินงานของเทศบาลและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบเป็นรายไตรมาส

 

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). คู่มือการปฏิบัติงานการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น. `เรียกใช้เมื่อ 18 สิงหาคม 2566, จาก http://www.dla.go.th/work/planlocal

ภัทรวรรธณ์ และคณะ. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น. ใน ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ปานพิมพ์ พันธุ์เสือ. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 7(1).

ปัณณทัต บนขุนทด. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(1),211.

สำนักงานเทศบาลตำบลศาลายา. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลศาลายา. `เรียกใช้เมื่อ 30 สิงหาคม 2566, จาก http://www.salaya.go.th

สำนักงานเทศบาลตำบลศาลายา. (2566). รายงานผลติดตามและประเมินผล ประจำปี งบประมาณเทศบาลตำบลศาลายา. เรียกใช้เมื่อ 30 สิงหาคม 2566, จาก http://www.salaya.go.th

องค์การบริหารส่วนตำบลทวีวัฒนา. (2566). แผนพัฒนาถิ่น2566-2570. เรียกใช้เมื่อ 27 พฤษภาคม 2566 จาก http://www.roi.ldd.go.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28