การกำหนดนโยบายตามหลักธรรมาภิบาล ของสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำสำคัญ:
การกำหนดนโยบาย, สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ธรรมาภิบาลบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการกำหนดนโยบายของสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมาภิบาล 3) เพื่อเสนอแนวทางการกำหนดนโยบายตามหลักธรรมาภิบาลของสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเป็นการวิจัยเอกสารปฐมภูมิ และเอกสารทุติยภูมิ ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผล และนำเสนอแบบพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการวิเคราะห์สภาพการกำหนดนโยบายของสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า สถาบันภาษาเป็นส่วนงานตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ส่วนงานของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2556 มีหน้าที่จัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ ภายใต้ยุทธศาสตร์สถาบันภาษา คือ 1) ความก้าวหน้าและความก้าวไกลด้านงานวิชาการ วิจัย และนวัตกรรม 2) การบริการวิชาการและรังสรรค์สังคม 3) การบริหารจัดการและความมั่นคงทางการเงิน 4) การสร้างการเติบโตและคุณภาพชีวิตของบุคลากรสถาบันภาษา เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วม ระหว่างมหาวิทยาลัยกับส่วนงาน คือ 1) นิสิต บุคลากร ประสบความสำเร็จระดับสากล มีส่วนร่วมระดับโลก ร่วมแก้ปัญหาโลก พร้อมสร้างบรรยากาศความเป็นนานาชาติ 2) นิสิต บุคลากร ได้เรียนรู้ ทำงานร่วมกับบุคคล หรือหน่วยงานภายนอก (TH + Inter) 3) เพิ่มผลงานตีพิมพ์วิจัย ผลงานวิชาการคุณภาพสูง 4) ผลิตงานวิจัย และนวัตกรรมที่สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม 5) พัฒนาชุมชนและสังคม เพื่อความยั่งยืน
2) ผลการวิเคราะห์หลักธรรมาภิบาล พบว่า สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินงาน โดยชอบธรรม มีประสิทธิภาพ ตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง หลักธรรมาภิบาลของจุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2565 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 3) ผลการวิเคราะห์การกำหนดนโยบายตามหลักธรรมาภิบาลของสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย พบว่า สถาบันภาษาสามารถกำหนดนโยบาย โดย
References
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. (2565). “กฎบัตรอาเซียน” กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. เรียกใช้เมื่อ 30 สิงหาคม 2566 จาก dttps://asean.mfa.go.th/th/Content/30137-กฎบัตรอาเซียน
กองยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษา. (2564). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2563 - 2566. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ปิติ ศรีแสงนาม. (2565). Amidst the New World Order. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
รัชยา ภักดีจิตต์. (2555). ธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารภาครัฐและภาคเอกชน Good Governance, Public and Private Management. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2565). รายงานประจำปีสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมพร เฟื่องจันทร์. (2552). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ออน อาร์ต ครีเอชัน จำกัด.