การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูอนุบาลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1

ผู้แต่ง

  • สุรเดช พรมคำ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • นัสพงษ์ กลิ่นจำปา วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

คุณลักษณะที่พึงประสงค์, ยุคดิจิทัล, โรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูอนุบาลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูอนุบาลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 165 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น นำแบบสอบถามไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ผู้พิจารณาความตรง และทดลองใช้เพื่อนำมาวิเคราะห์ค่า ความเชื่อมั่นแบบครอนบาค เท่ากับ 0.966 เคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ค่าสถิติ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test

          ผลการวิจัย พบว่า

  1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูอนุบาลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับมาก และด้านวัฒนธรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ อยู่ในระดับมาก
  2. ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูอนุบาลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีเพศ และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูอนุบาลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนระดับการศึกษา พบว่าไม่แตกต่างกัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ไพชยนต์ อ่อนช้อย. (2563). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

รักษิต สุทธิพงษ์. (2560). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากับการพัฒนาครูไทยในยุคดิจิทัล.

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 344-355.

วาริน แซ่ตู. (2562). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ที่ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักเลขาธิการการสภาการศึกษา. (2562). ครูไทยยุคใหม่สนใจดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Constitutional Committee. (2017). Constitution of the Kingdom of Thailand.

Bangkok : Constitutional Committee. (In Thai)

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research

Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607 610.

Cronbach, Lee J. (1990). Essentials of Psychological Testing. 5th ed. New York : Harper &Row.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28