การให้บริการของผู้ประกอบการร้านประดับยนต์ด้วยพุทธธรรมาภิบาล ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อักษร สมัครการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พชรเดช เสมานู มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การให้บริการ, ผู้ประกอบการ, ร้านค้าประดับยนต์, พุทธธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการให้บริการของผู้ประกอบการร้านค้าประดับยนต์ ด้วยพุทธธรรมาภิบาล ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการให้บริการของผู้ประกอบการร้านค้าประดับยนต์ ด้วยพุทธธรรมาภิบาล ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการให้บริการของผู้ประกอบการร้านค้าประดับยนต์ ด้วยพุทธธรรมาภิบาล ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ที่พักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 379 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และ F-test

            ผลการวิจัยพบว่า 1) การให้บริการของผู้ประกอบการร้านค้าประดับยนต์ ด้วยพุทธธรรมาภิบาล ในเขตเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ตามหลักธรรมาภิบาล 6 คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า โดยภาพรวม และรายด้านทุกด้าน มีการให้บริการอยู่ในระดับมาก 2) การให้บริการผู้ประกอบร้านค้าประดับยนต์ ด้วยพุทธธรรมาภิบาล ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อการให้บริการของผู้ประกอบการร้านค้าประดับยนต์ ด้วยพุทธธรรมาภิบาล ตามหลักธรรมาภิบาล 6 และหลักสังคหวัตถุ 4 ไม่แตกต่างกัน ประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อการให้บริการของผู้ประกอบการร้านค้าประดับยนต์ ด้วยพุทธธรรมาภิบาลตามหลักธรรมาภิบาล 6 ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อการให้บริการของผู้ประกอบการร้านค้าประดับยนต์ ด้วยพุทธธรรมาภิบาล ตามหลักสังคหวัตถุ 4 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะแนวทางการของผู้ประกอบการร้านค้าประดับยนต์ ด้วยพุทธธรรมาภิบาล ในเขตร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ประชาชนให้ความคิดเห็นไว้ 3 อันดับแรก ได้แก่ พนักงานที่ให้บริการจะต้องมีความพร้อมด้านจิตใจ เป็นผู้ที่รักการบริการ มีทัศนะคติที่ดีต่อการให้บริการ รู้จักใช้หลักธรรมเข้ามาร่วมในการให้บริการด้วย รองลงมาคือ ผู้ให้บริการจะต้องมีความรู้ ความชำนาญในงานที่ให้บริการ สามารถแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงได้ และผู้ประกอบการจะต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีของพนักงานในการให้บริการ

References

เกษมสุข ค๊อก. (2562). แผนธุรกิจร้านประดับยนต์ NTN Sound. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จินตนา บุญบงการ. (2555). จริยธรรมทางธุรกิจ Business Ethics. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เฉลิมพล ทองเหลา. (2563). ธรรมาภิบาลและคุณภาพการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของที่ว่าการอำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นิธิ เกตุหิรัญ. (2553). โครงการศูนย์ออกแบบและตกแต่งประดับยนต์. ใน การบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

บริษัท ช่างอ๋อยออโตซาวด์ จำกัด. (2564). เอกสารประชาสัมพันธ์บริษัท ช่างอ๋อยออโตซาวด์ จำกัด. เรียกใช้เมื่อ 31 มีนาคม 2565. จาก https://www.dataforthai.com/company/ 0455560001496/

บุญรุ่ง แสงยศ. (2558). แนวทางการพัฒนาการให้บริการของงานไปรษณีย์ตามหลักธรรมาภิบาล จังหวัดมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เบญจวรรณ สีตะระโส. (2557). การให้บริการประชาชนตามสังคหวัตถุธรรมของศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดนครสวรรค์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระประเสริฐ สนฺตจิตฺโต (คงลำ). (2558). การให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสำนักงานเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพิศิษฐ์ ฐานุตฺตโร (แซ่เจียง). (2559). การให้บริการสาธารณะตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเทศบาลตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิทยาภา ชุณติกาญจน์. (2558). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อพฤติกรรมการให้บริการตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานที่ดิน จังหวัดระยอง สาขาปลวกแดง. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

มนตรี กัลชาญพันธุ์. (2560). การให้บริการของพนักงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ตามหลักสังคหวัตถุ 4. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดร้อยเอ็ด. (2563). สถานการณ์แรงงานรายปี 2563 (ตุลาคม - ธันวามคม 2563) จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด : สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดร้อยเอ็ด.

สุกัญญา โพธิจาทุม. (2563). ธรรมาภิบาลและการจัดการคุณภาพการให้บริการของศูนย์บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จจังหวัดนครปฐม. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิทยาลัยธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุนันทา ทวีผล. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการด้านให้คำปรึกษา แนะนำปัญหาด้านกฎหมายของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 3 (สคช.). ใน สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภชัย โพธิ. (2558). ประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม ของเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุรีรัตน์ ทองจันทร์. (2556). คุณภาพการให้บริการประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี. ใน สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Koler, P. (2003). Marketing management. New Jersey : Prentice Hall Inc.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-17