แนวทางการพัฒนานวัตกรสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุดรธานี เขต 3

ผู้แต่ง

  • ยุพิน ขุลีดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • นวัตกร หอมสิน หาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

นวัตกร, นวัตกรรม, การพัฒนาผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ใน         การพัฒนานวัตกรสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุดรธานี เขต 3 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนานวัตกรสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุดรธานี เขต 3 3) เพื่อประเมินแนวทาง                 การพัฒนานวัตกรสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุดรธานี เขต 3 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึ่งประสงค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ จำนวน 183 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98  ระยะที่ 2 ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างโดยการเลือกแบบเจาะจง ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูล หาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 การประเมินแนวทางโดยการเลือกแบบเจาะจง ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูล หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

  ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมากและสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าความต้องการจำเป็นโดยรวมอยู่ระหว่าง 0.028 – 0.100           2) แนวทางการพัฒนานวัตกรสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 คือ การแสวงหาโอกาสใหม่ ทักษะสร้างสรรค์ ทักษะทางปัญญา และทักษะการสร้างเครือข่าย 3) การประเมินแนวทาง ในด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

 

References

โกศล ภูศรี. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วสันต์ สุทธาวาศ. (2558). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วสันต์ สุทธาวาศ และ พิทักษ์ ศิริวงศ์. (2558). ความเป็นนวัตกรทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาครัฐ: การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตรและศิลปะ, 8(2), 281-300.

สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564 เรียกใช้เมื่อ 18 กรกฎาคม 2566 จากhttps://www.nesdc.go.th /ewt_w3c/ewt_dl_linkphp?nid=6422

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2563). นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสร้างนวัตกร. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

_______. (2565). การบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรุ่นเยาว์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bagley, O. R. (2014). The 10 Traits of Great Innovators. Retrieved September 16, 2023, from https://www.forbes.com/sites/rebeccabagley/2014/01/15/the-10-traits-of-great-innovators/#2a0733664bf4.

Couros, G. (2014). 8 Characteristics of the "Innovator's Mindset". Retrieved September 1, 2023, from https://georgecouros.ca/blog/archives/4783.

Eriksson, J. (2013). The Five Characteristics of Successful Innovators. Retrieved September 1, 2023, from http://blog.bearing-consulting.com/2013/10/27/ the-five-characteristics-of-successful-innovators.

George, C. (2015). The Innovator's Mindset. San Diego, CA: Dave Burgess Consulting.

Guskey, T. R. (2000). Evaluating Professional Development. Thousand Oaks, CA: Corwin.

Wagner, T. (2012). Creating Innovators: The Making of Young People Who Will Change the World. Scribner/Simon & Schuster publisher.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30