การบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • สมเกียรติ ชูกิจไพศาล มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • กชพรรณ มีประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ณรงค์ สมพงษ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การบริหารงานงบประมาณ, สถานศึกษา, เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา 2) เปรียบเทียบการบริหารงบประมาณสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จำแนกตาม วุฒิการศึกษา และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครู จำนวน 140 คน ได้มาโดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน  และสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ระดับชั้นเรียนเป็นชั้นและสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. การบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการบริหารการเงิน ด้านการบริหารบัญชี ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ ด้านการจัดสรรงบประมาณ ด้านการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน และด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ
  2. 2. ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณและด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงบประมาณสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2564). ข้อตรวจพบจากการปฏิบัติงานตามแผนการตรวจสอบการคลัง การเงินการบัญชี และการพัสดุ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กระทรวงมหาดไทย

ขนิษฐา ยศเมฆ. (2560). ความสัมพันธระหวางการบริหารงบประมาณทางการศึกษากับคุณภาพผูเรียนของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลในจังหวัดสุราษฎรธานี. วิทยานิพนธ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี

ณัฐวรรณ ตรวจนอก. (2558). การศึกษาการบริหารงานโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 2(1), 17-24.

จงรักษ์ แสนแอ่น และคณะ. (2563). ระบบการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย : กรณีศึกษาเทศบาล เมืองแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และเทศบาลนครนครปฐม จังหวัดนครปฐม ในเทศบาลพระนครศรีอยุธยา. (2558). เรียกใช้เมื่อ 2 พฤษภาคม 2562 จาก http://www.ayutthayacity.go.th/home/homepage

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ ครั้งที่7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุญทัย สุรมุล. (2550). การบริหารงบประมาณในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วุฒิสาร ตันไชย. (2547). ศึกษาผลกระทบต่อภาคประชาชนจากการจัดบริการสาธารณะ: องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นตามนโยบายการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การ บริหารส่วนตำบล (อบต.). นนทบุรี: ดิจิตอลเวิลด์กอปปี้.

สีตีซอปีเย๊าะ มือแยบาสอ. (2557). การบริหารงานงบประมาณในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ทางการบริหารการศกษา. ชลบุรี: สำนักพิมพ์. มนตรี จำกัด.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-17