ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของครูโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษากลุ่มที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

ผู้แต่ง

  • เทพ ตระหง่าน มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วรวุฒิ จิรสุจริตธรรม มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วาสนา ขัตติยวงษ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนาตนเองของครู, โรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งในนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาตนเองของครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา กลุ่มที่ 3  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ใน 3 ด้านประกอบด้วยด้านวิชาชีพ  ด้านบุคลิกภาพและด้านวิสัยทัศน์ 2) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา กลุ่มที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1  จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษากลุ่มที่ 3 จำนวน 118 คน ได้มาโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน แล้วสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยใช้โรงเรียนเป็นชั้นและใช้การสุ่มอย่างง่าย ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า มี 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและทำการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่

 

ผลการศึกษาพบว่า

  1. การพัฒนาตนเองของครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษากลุ่มที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
  2. ครูที่มีเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษากลุ่มที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). แผนการพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระยะที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ดวงกมล แสงวิเศษ. (2560). การพัฒนาตนเองของครูในโรงเรียนสำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา. (2536). เอกสารและผลงานวิจัยการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุดารัตน์ รวมธรรม. (2560). การพัฒนาตนเองของครูในโรงเรียนกลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพเครือข่ายที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. ใน สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สุภาภรณ์ สนใจยิ่ง. (2557). การพัฒนาตนเองของครูในสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1. ใน สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-17