ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนวัดบางพลีใหญ่กลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
คำสำคัญ:
การสินใจของผู้ปกครอง, การส่งบุตรหลานเข้าเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนวัดบางพลีใหญ่กลาง และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนวัดบางพลีใหญ่กลาง จำแนกตามระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ปกครอง จำนวน 271 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จากตารางของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ระดับชั้นเรียนเป็นชั้น และสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการศึกษาพบว่า
- ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนวัดบางพลีใหญ่กลาง โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ด้านคุณลักษณะของครู ด้านการบริการ ด้านงานวิชาการ ด้านภาพลักษณ์ของโรงเรียน และด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
- ผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนวัดบางพลีใหญ่กลาง โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
References
ทศวรรษ มูลสาร.(2558). การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนทิพพากรวิทยาการ จังหวัดปทุมธานี. ใน สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
ธรรมนูญ นวลใจ. (2541). หัวใจแห่งการศึกษาสำหรับเด็กวัย 1–5 ขวบ . กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์คำแก้ว.
นิตยา คชภักดี. (2545). โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดครอบครัวอยู่ดีมีสุข. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. มหาวิทยาลัยมหิดล.
รชตวรรณ สุวรรณดี.(2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกโรงเรียนอนุบาลเอกชนของผู้ปกครองในเขตกรุงเทพ. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). “ค่าเฉลี่ยและการแปลความหมาย”. ในข่าวสารวิจัยทางการศึกษา, 18 (3),8 -11.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). รูปแบบการบริหารและการจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจ. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานบริหารและจัดการศึกษา.
Krejcie, R.V.Morgan, D.W.(1970). “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measurement, 30(3),608-610.