รูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การบริหาร, กิจกรรมลูกเสือ, ความเป็นพลเมือง, ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือเพื่อส่งเสริม ความเป็นพลเมืองของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยการสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ จำนวน 331 คน โดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงสำรวจ ศึกษาแนวทางการบริหารกิจกรรมลูกเสือโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 3 โรงเรียน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และ ขั้นที่ 2) การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 253 คน และผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ จำนวน 78 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
รูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองของ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้าในการบริหารกิจกรรมลูกเสือ 2) กระบวนการบริหารกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และ 3) คุณลักษณะความเป็นพลเมืองของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
References
ธีระดา ภิญโญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: เฟิร์นข้าหลวง พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: บริษัท. สุวีริยาสาส์น จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579.กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยอง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในโรงเรียนเอกชนจังหวัดระยอง. ระยอง: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยอง.
อำไพ นงค์เยาว์. (2560). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(1), 132 - 143.