องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, ภาวะผู้นำดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ วิธีการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่ม 2 ครั้งจากผู้เชี่ยวชาญ 14 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่ ประเด็นการสนทนากลุ่ม ผู้ดำเนินการสนทนากลุ่มและการบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นตอนนี้ ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร โดยใช้ผลแบบสอบถามจากผู้เข้าร่วมจำนวน 360 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในกระบวนการนี้คือ แบบสอบถาม ระดับความถูกต้อง 0.99 สถิติที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ
ผลการวิจัยพบว่า
- องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 7 องค์ประกอบ คือ 1) วิสัยทัศน์ดิจิทัล 2) ความรู้และทักษะดิจิทัล 3) การจัดการดิจิทัล 4) วัฒนธรรมดิจิทัล 5) เครือข่ายความร่วมมือดิจิทัล 6) การปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล และ 7) กลยุทธ์เชิงดิจิทัล
- ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร พบว่า องค์ประกอบ 7 องค์ประกอบ คือ 1) วิสัยทัศน์ดิจิทัล ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 15 ตัวแปร 2) ความรู้และทักษะดิจิทัล ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 12 ตัวแปร 3) การจัดการดิจิทัล ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 14 ตัวแปร 4) วัฒนธรรมดิจิทัล ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 7 ตัวแปร 5) เครือข่ายความร่วมมือดิจิทัล ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 5 ตัวแปร 6) การปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 6 ตัวแปร และ 7) กลยุทธ์เชิงดิจิทัล ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 3 ตัวแปร
References
กัลยา ติงศภัทิย์. (2557). ความท้าทาย ณ ขอบแดนใหม่แห่งการเรียนรู้: การศึกษาระบบ 4.0. ใน สัมมนาทางวิชาการ.จัดสัมมนาโดย ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพมหานคร.
จิรพล สังข์โพธิ์, สุวรรณ จันทิวาสารกิจ, และ เสาวณีย์ อยู่ดีรัมย์. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารยุคดิจิทัล: องค์การไอทีและองค์การที่เกี่ยวข้องในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารองค์การ: แนวคิด ทฤษฎีและกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.
ทศพล สุวรรณราช. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(3), 160-177.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปกรณ์ ลี้สกุล. (2561). Leadership in Digital Era: ภาวะผู้นำในโลกดิจิทัล. เรียกใช้เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2566, จาก https://today.line.me/th/pc/article/Leadership+in+digital+era
สุจรรยา ขาวสกุล, สำเริง บุญเรืองรัตน์, จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์, และ สงวนพงศ์ ชวนชม. (2564). การพัฒนาดัชนีชี้วัดภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 8(1), 45-56.
สุภางค์จันทวานิช. (2562). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพัตรา สุวรรณชัยรบ. (2564). โปรแกรมเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 19(84), 31-40.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานการศึกษาการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจากผลการทดสอบ O-NET และ PISA. กรุงเทพมหานคร: สกศ.
Broadribb, K. (2014). Digital Leaders: The New Technology Gurus in School. Retrieved on November 6, 2023, from https://wholeeducation.wordpress.com/2014/11/18/digital-leaders-the-newtechnology-gurus-in-school
Burns, N. & Grove, S.K. (2005). The Practice of Nursing Research: Conduct, Critique and Utilization. 5th Edition. Missouri: Elsevier Saunders.
Damayanti, F. P. & Mirfani, A. M. (2021). An Analysis of Digital Leadership in the Pandemic Covid-19 Era. In 4th International Conference on Research of Educational Administration and Management (ICREAM 2020) (pp. 156-159). Atlantis Press.
Digital Marketing Institute. (2017). Skill in Digital Leadership. Retrieved on November 12, 2023, from https://www.digitalmarketinginstitute.com/blog/03-04-18-the-most-in-demandskills-in-digital-leadership
Hair, J., Anderson, R., Tatham, R. and Black, W. (1998). Multivariate Data Analysis. 5th Edition. New Jersey: Prentice Hall.
Kaganer, E., S. & Zamora, J. (2014). The 5 Key to a Digital Mindset: IESE. Retrieved on November 6, 2023, from https://www.forbes.com/site/iese/2014/03/11/the-5-keys-to-a-digitalmindset/2/#47c6c5e94f5f
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (1996). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling. Lawrence Erlbaum Associates, Inc.
Sheninger, E. (2014). Pillars of Digital Leadership in Education. Retrieved on November 6, 2023, from http://leadered.com/pillars-of-digital-leadership/
Sullivan, L. (2017). 8 Skills Every Digital Leader Needs. Retrieved on November 6, 2023, from https://www.cmswire.com/digital-workplace/8-skills-every-digital-leader-needs/
Toduk, Y. (2014). 2023 Lideri-Dijital Çağın Liderlik Sırları. Istanbul, Doğan Egmont Yayınları.
Turan, M. (2018). Dijital Liderlik. Retrieved on December 17, 2023, from https://poyrazruzgari.com/2018/01/12/dijital-liderlik/
Zhu, P. (2014). Five Key Elements in Digital Leadership. Retrieved on January 8, 2024, from https://futureofcio.blogspot.com/2014/10/digital-leadershipeffectiveness.html