การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนเลยพิทยาคม โดยใช้ Interactive Notebook ร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะ
คำสำคัญ:
ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ, การจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรม Interactive Notebook เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเลยพิทยาคม โดยใช้ Interactive Notebook ร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะ ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเลยพิทยาคม โดยใช้ Interactive Notebook ร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/7 โรงเรียนเลยพิทยาคม ปีการศึกษา 2566 จำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ Interactive Notebook จำนวน 4 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน E1/E2 และการทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการหาประสิทธิภาพของ Interactive Notebook เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนเลยพิทยาคม โดยใช้ Interactive Notebook ร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ E1/E2 =83.13/85.33 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80 และ 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเลยพิทยาคม โดยใช้ Interactive Notebook ร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ธัญญารัตน์ ชื่นแสงจันทร์. (2563). ครูกับการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารสังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม, 1(1). 1-10.
ชวลิต ชูกำแพง. (2561). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะ (AKITA Action). วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 1(3). 18-20.
เชาว์ อินใย. (2543). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
เบญญาภา โสภณ. (2559). กิจกรรมเสริมทักษะหลักการใช้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เบ็นภาษาและศิลปะ.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรษมล ศุภคุณ. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านกล่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(2). 48-57.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สุธาสินี ธนัฐปิตินันท์. (2566). การพัฒนาการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษาในตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเลย ด้วยนวัตกรรม Interactive Notebook. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 5(1). 48-64.
อมรรัตน์ เทพกำปนาท. (9 ตุลาคม 2566). ออนไลน์. เข้าถึงได้จาก สมุดงานแบบโต้ตอบ:http://www.fis.ru.ac.th/home/index.php?option=com_content&task=view&id=19&Itemid=37>[30December2019