การศึกษาความคงทนของความรับผิดชอบด้านการเรียนออนไลน์โดยใช้โปรแกรมการกำกับตนเองของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
คำสำคัญ:
ความคงทน, ความรับผิดชอบด้านการเรียนออนไลน์, โปรแกรมการกำกับตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคงทนของความรับผิดชอบด้านการเรียนออนไลน์ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย หลังเข้าร่วมโปรแกรมและหลังสิ้นสุดเข้าร่วมโปรแกรมการกำกับตนเอง 1 เดือนของกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษา ชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความรับผิดชอบด้านการเรียนออนไลน์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 และโปรแกรมการกำกับตนเอง มีค่าเหมาะสมของโปรแกรมเท่ากับ 4.44 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษากลุ่มทดลอง หลังเข้าร่วมโปรแกรมการกำกับตนเองมีคะแนนความรับผิดชอบด้านการเรียนออนไลน์เฉลี่ย 58.83 และหลังสิ้นสุดเข้าร่วมโปรแกรมการกำกับตนเอง 1 เดือน มีความรับผิดชอบด้านการเรียนออนไลน์เฉลี่ย 58.66 ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า นักศึกษามีความคงทนของความรับผิดชอบด้านการเรียนออนไลน์โดยใช้โปรแกรมการกำกับตนเอง
References
ทาริกา สมพงษ์. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองเรื่องชนิดและหน้าที่ของคำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ธัญญาภรณ์ อุปมัยรัตน์. (2561). ผลโปรแกรมการกำกับตนเองต่อทัศนคติการใช้ความรุนแรงและพฤติกรรมการควบคุมตนเองของนักเรียนวัยรุ่น. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นิราศ จันทรจิตร (2558) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างการกำกับตนเองในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 21(2). 22 -40.
พิริยา สร้อยแก้ว. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิทยา วาโย และคณะ. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34),285-298.
สายหยุด อุไรสกุล. (2559). การใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ. การประชุมสัมมนาทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ครั้งที่ 6 วันที่ 15-17 พฤษภาคม. ชลบุรี
องอาจ นัยพัฒน์. (2554). การออกแบบการวิจัย: วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพและผสมผสานวิธีการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.