การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
การบริหารงาน, หลักธรรมาภิบาล, เทศบาลตำบลคลองแงะบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา โดยจำแนกตามเพศ และระดับการศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย บุคลากรเทศบาลตำบลคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จำนวน 102 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t - test และ F - test
ผลการวิจัยพบว่า
1) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านคุณธรรม รองลงมาได้แก่ ด้านความโปร่งใส และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ด้านความคุ้มค่า
2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ที่มีเพศ และระดับการศึกษา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา พบว่า ควรมีระบบการติดตามประเมินผลอย่างจริงจัง เพื่อให้สามารถนำผลมาเปรียบเทียบความคุ้มทุนในเรื่องต่าง ๆ และปลูกจิตสำนึกให้บุคลากรเห็นความสำคัญในการประหยัดทรัพยากร ผู้บริหารควรส่งเสริมให้บุคลากรและประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานให้มากขึ้น และเพิ่มช่องทางสำหรับให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นให้มากขึ้นด้วย เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนตรวจสอบ และมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น อีกทั้งผู้บริหารควรกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. เรียกใช้เมื่อ 9 มีนาคม 2567. จาก https://www.dla.go.th/work/abt/summarize.jsp.
เทศบาลตำบลคลองแงะ. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2566-2570 (29 ตุลาคม). กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลตำบลคลองแงะ.
เทศบาลตำบลคลองแงะ. ทำเนียบและจำนวนบุคลากร. เรียกใช้เมื่อ 9 มีนาคม 2567, จากhttps://khlongngae.go.th/content/board/1
นภดล สุรนัครินทร์. (2557). การนำหลักธรรมาภิบาลมาปรับใช้ในองค์การบริหารส่วนตำบล ตามทัศนะของประชาชนจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิภาพรรณ ผิวอ่อน. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุยเหนือ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. การศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
พระมหาชินวัฒน์ ธมฺมเสฏฺโฐ (หาญกุล). (2557). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สถาบันพระปกเกล้า. (2547). หลักความคุ้มค่า. เรียกใช้เมื่อ 9 มีนาคม 2567. จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%.
แสงชัย อภิชาตธนพัฒน์. (2559). หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร. เรียกใช้เมื่อ 9 มีนาคม 2567. จาก https://www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/ewt_dl_link.php?ni
หอสมุดรัฐสภา. (2562). วันเทศบาล. เรียกใช้เมื่อ 9 มีนาคม 2567. จาก https://library.parliament.go.th/index.php/th/radioscript/wanethsbal.
อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า. (2548). ธรรมาภิบาลกับหลักสิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนญ. รัฐสภาสาร, 53 (10), 105-112.
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607 – 610.