การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะนาฏศิลป์ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ สุโพธิณะ โรงเรียนเทศบาลวัดประทุมคณาวาส (นิพัทธ์หริณสูตร์)

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก, ทฤษฎีการสร้างความรู้, ความรู้และทักษะ นาฏศิลป์, ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, นาฏศิลป์พื้นเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ 2) สร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ 4) ประเมินความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทศบาลวัด ประทุมคณาวาส (นิพัทธ์หริณสูตร์) จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระต่อกัน และ การวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญต้องการให้มีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะนาฏศิลป์ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องนาฏศิลป์พื้นเมือง 2) รูปแบบการเรียนการสอนนี้มีชื่อเรียกว่า PCACE Model และผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ทุกด้าน 4) ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กาญจนา อินทรสุนานนท์ และรุจี ศรีสมบัติ. (2552). รําวงมาตรฐาน. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วณิชย์ชยา โพชะเรือง. (2555). การพัฒนาศูนย์การเรียนนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

วินัยธร วิชัยดิษฐ์. (2555) . การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนกลุ่มวิชาภูมิศาสตร์ที่ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาครุศาสตร์ สาขาสังคมศึกษา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552) แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2562). คู่มือบริหารจัดการ เวลา เรียน“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ปีการศึกษา 2559. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

หทัยชนันบ์ กานต์การันยกุล. (2556) . การพัฒนาชุดกิจกรรมการออกแบบทางศิลปะด้วยสมุดร่างภาพตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลปศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อารี พันธ์มณี. (2558). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ต้นอ้อ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-17