นวัตกรรมการบริหารกับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายสถานศึกษา 5 (จตุภูมิศรีวิชัย) จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • บัณฑิตา ศรีอินทร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สันติ อุนจะนำ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • พระครูวินัยธรวุฒิชัย ชยวุฑฺโฒ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

การบริหาร, การประกันคุณภาพภายใน, โรงเรียนในศูนย์เครือข่านสถานศึกษา 5 (จตุภูมิศรีวิชัย)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพของการบริหารกับ                     การดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายสถานศึกษา 5                         (จตุภูมิศรีวิชัย) จังหวัดนครศรีธรรมราช 2. เพื่อพัฒนานวัตกรรมการบริหารกับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายสถานศึกษา 5 (จตุภูมิศรีวิชัย)                  จังหวัดนครศรีธรรมราช  3. เพื่อประเมินนวัตกรรมการบริหารกับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายสถานศึกษา 5  (จตุภูมิศรีวิชัย)                           จังหวัดนครศรีธรรมราช  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ในศูนย์เครือข่ายสถานศึกษา 5 (จตุภูมิศรีวิชัย) จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 162 คน เครื่องมือ         ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมิน                ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และเชิงพรรณนา

       ผลการวิจัยพบว่า

       1) สภาพปัจจุบันในการบริหารกับการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง

       2) ผลการพัฒนานวัตกรรมการบริหารกับการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วย 4  องค์ประกอบ ดังนี้  องค์ประกอบที่ 1. หลักการและเหตุผลของการบริหารกับการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน องค์ประกอบที่ 2. วัตถุประสงค์การบริหารกับการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน องค์ประกอบที่ 3. วิธีการดำเนินการการบริหารกับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในและองค์ประกอบที่ 4. ผลการดำเนินงานของการบริหารกับการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน

3) ผลการประเมินนวัตกรรมการบริหารกับการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน                        จากความเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้ากลุ่มงานวิชาการของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายสถานศึกษา 5  (จตุภูมิศรีวิชัย)  พบว่า ความเหมาะสมของนวัตกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความเป็นไปได้ของนวัตกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นประโยชน์ของนวัตกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด 

References

ธนพล วงศ์ฉลาด. (2564). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. ใน ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มาหะมะบาคอรี มาซอ. (2564). การบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่. ใน การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

สง่า จันทร์วิเศษ. (2566). การพัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 13. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยชวลิตกุล.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). ข้อเสนอระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040. กรุงเทพมหานคร: สกศ.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2566). รายงานสรุปผล การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านการประกันคุณภาพ การศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับศึกษานิเทศก์และสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยรูปแบบผสมผสาน (online และ face to face). กรุงเทพมหานคร: เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

สุกันยามาศ มาประจง. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารการประกันุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 13. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-17