แนวทางพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1
คำสำคัญ:
มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอย, ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้, แนวทางการดำเนินงาน ตามมาตรการบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ และปัญหาการดำเนินงานตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของสถานศึกษา 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของสถานศึกษา การวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพ และปัญหาการดำเนินงานตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยขั้นตอนนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูฝ่ายวิชาการ รวมทั้งสิ้น 123 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 นำเสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 12 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มาตรการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ใหม่ ที่ตอบสนองบริบทความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้เรียน และมาตรการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การจัดสวัสดิการ ความปลอดภัย และสร้างขวัญและกำลังใจ ปัญหาการดำเนินงานตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มาตรการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และสุขภาวะที่ดีของผู้เรียนทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต และมาตรการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การพัฒนาคลังสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้แบบเปิด และเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ผลต่างของสภาพและปัญหาการดำเนินงานตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยภาพรวมผลต่างมีค่าเท่ากับ 0.21 และ 2) แนวทางพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของสถานศึกษา 7 มาตรการ 21 แนวทาง ได้แก่ มาตรการที่ 1 การออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ใหม่ มาตรการที่ 2 การเสริมพลังพัฒนาครู และผู้บริหารสถานศึกษา มาตรการที่ 3 การสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ มาตรการที่ 4 การพัฒนาคลังสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้แบบเปิด และเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา มาตรการที่ 5 การสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และสุขภาวะ ที่ดีของผู้เรียนทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต มาตรการที่ 6 การยกระดับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ และมาตรการที่ 7 การจัดสวัสดิการ ความปลอดภัย และสร้างขวัญ และกำลังใจ
References
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม. (2565). รายงานประจำปี 2565 กรมคุ้มครองสิทธิและ เสรีภาพ. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม, หน้า 2-8.
ขวัญใจ ฤทธิ์คำรพ. (2566). ปัญหาสุขภาพจิตในสถานศึกษา. วารสารคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี,1(1), 182.
ชาตรี นามคุณ. (2565). เอกสารการแก้ปัญหาสภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning loss recovery) และป้องกันการหลุดออกจากระบบของผู้เรียน โดยใช้กระบวนการ SPT PLC ร่วมกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีส่วนร่วม ของโรงเรียนประถมนนทรี ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (รายงานผลนวัตกรรม). โรงเรียนประถมนนทรี.
ณัฐพัชร์ บุญเกตุ. 2565. การบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2. ใน ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ทิวัตถ์ ศรีดํารงค์. (2556). การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ: การศึกษาทฤษฎีฐานราก. ใน ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, อุดรธานี.
ปิ่นทอง ใจสุทธิ. (2565, มกราคม). แนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ระดับประถมศึกษา. ใน รายงานการประชุมสัมมนาผลการเรียนรู้ของเด็กไทยในสถานการณ์โควิด-19. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2, ตาก.
เมธาวัลย์ วิพัฒน์ครุฑ และมัทนา วังถนอมศักดิ์. (2567). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอย ทางการเรียนรู้ของโรงเรียนประชาอุปถัมภ์. ใน ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต.มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). New normal ทางการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วัสสิกา รุมาคม และฐิชากาญจน์ พัชรจิราพันธ์. (2565). การบริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(6), 16.
วิชา ขันติบุญญานุรักษ์ และชนิดา มิตรานันท์. (2566). ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้หลังสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม: ปัญหาและการช่วยเหลือ. วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 5(1), 83.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. (2565). รายงานผลการดำเนินงาประจำปี 2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา 1. เรียกใช้เมื่อ 1 มกราคม 2566 จาก https://www.aya1.go.th/
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 1). เอส.บี.เค.การพิมพ์.
Abhijeet Singh, Mauricio Romero, and Karthik Muralidharan. (2022). Covid-19 Learning Loss
and Recovery: Panel Data Evidence from India. NBER Working Paper, H(52), 121-125.