การบริหารจัดการวัฒนธรรมดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ไชยพร มะลิลา วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ละมุน รอดขวัญ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • พิภพ วชังเงิน วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, วัฒนธรรมดิจิทัล, โรงเรียนมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการวัฒนธรรมดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการบริหารจัดการวัฒนธรรมดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ได้แก่ 1) ศึกษาแนวความคิดวัฒนธรรมดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) แนวทางการบริหารจัดการวัฒนธรรมดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งปัจจุบันนี้การบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเตรียมองค์กรเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรดิจิทัล วัฒนธรรมดิจิทัลเป็นหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนผ่านการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ดังนั้น การบริหารจัดการให้คณะครู บุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรเข้าใจวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปในโลกดิจิทัล สามารถปรับประยุกต์แนวทางวัฒนธรรมดั่งเดิมขององค์กรบูรณาการเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมแบบดังเดิม สามารถเพิ่มความคล่องตัว ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและเติมโตได้อย่างรวดเร็ว มีค่านิยมร่วม ปรับแนวทางปฏิบัติเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมดิจิทัลและคงไว้ซึ่งค่านิยมที่เป็นตัวตนขององค์กรเป็นสิ่งจำเป็น 

          ผลจากการศึกษาวิเคราะห์พบว่า แนวความคิดและแนวทางการบริหารจัดการวัฒนธรรมดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษาควรมีกระบวนการ 4 ขั้นตอนคือ 1.การวางแผน 
2.การจัดการหน่วยงาน 3. การบังคับบัญชา และ4.การควบคุม  โดยมีองค์ประกอบของวัฒนธรรมดิจิทัล คือ 1.การมีค่านิยมทำงานร่วมกัน 2.มีความคล่องตัวทางดิจิทัลพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง 3. พร้อมรับความเสี่ยงทางดิจิทัลและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ 4.การมีกรอบความคิดดิจิทัล 5.การใช้ข้อมูลขับเคลื่อนการดำเนินงาน และ 6.การเน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง  

        หลักการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยมีแนวทางการบริหารจัดการวัฒนธรรมดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษาดังนี้ 1.กำหนดแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนโดยเปิดพื้นที่ให้บุคลากรกล้าที่จะลงมือทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา 2.ปรับทัศนคติให้เติบโตด้วยกรอบความคิดการเป็นนักเรียนรู้พร้อมที่จะแก้ไขปัญหาและพัฒนาต่อยอดจากโอกาสที่เอื้อต่อการพัฒนางาน 3.กระตุ้นให้เกิดการทำงานเป็นทีม บุคลากรเปิดใจยอมรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ยังคงไว้ซึ่งแนวทางปฏิบัติแบบดังเดิม โดยคำนึงถึงค่านิยมร่วมกับวัฒนธรรมดิจิทัล 4.ส่งเสริมบุคลากรให้มีส่วนแสดงความคิดเห็นสร้างข้อตกลงหรือเงื่อนไขการปฏิบัติงานร่วมกัน 5. ออกแบบระบบการตรวจสอบและกำกับติดตามกระบวนการทำงานชัดเจนทุกขั้นตอนผ่านเทคโนโลยี 6. สร้างนวัตกรรมเพื่อบริการลูกค้าที่สูงกว่ามาตรฐานที่ลูกค้าคาดหวัง                7. มุ่งเน้นลูกค้าปัจจุบันและมองกลุ่มลูกค้าในอนาคต รวมทั้งกำหนดกรอบของผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น

References

กองกฎหมายการศึกษาและวัฒนธรรม.(2562) เจตนารมณ์พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

ชัยพัชร์ เลิศรักษ์ทวีกุล. (2567). 3 วิธีสร้าง DIGITAL CULTURE ในองค์กร MULTI GENERATION. เรียกใช้เมื่อ 28 กรกฎาคม 2567. จาก https://deoneacademy.com/how-to-create-digital-culture-in-multi-genaration/

ธนชาติ นุ่มนนท์. (2562, 22 มีนาคม). กลยุทธ์: สู่ความสำเร็จด้านดิจิทัลดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น. กรุงเทพธุรกิจ. เรียกใช้เมื่อ 22 มีนาคม 2567. จาก https://www.bangkokbiznews.com/ blog/detail/646871.

นิรุติ เต้นปักษี. (2565). รูปแบบการพัฒนาวัฒนธรรมดิจิทัลของสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์. ในวิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูลย์. (2559). ภาวะผู้นำ. เรียกใช้เมื่อ วันที่ 15 พฤษภาคม 2561. จาก http://www.entraining.net/article06_leadership.php

ประพันธ์ คชแก้ว. (2562). นวัตกรรมการบริหารองค์ในยุคดิจิทัล Innovation of Organization Administration in Digital Age. เรียกใช้เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2566. จาก: file:///C:/ Users/ ASUS%20ZenBook/Downloads/172467-Article%20Text-646535-2-10- 20190809%20(1).pdf.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ฟารียะ สะอุ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับระสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงาน พื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. ในสารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

มนทิพย์ ทรงกิติพิศาล. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ลิขิต ศรีแสนชัย. (2560). มาตรฐานองค์กรในยุค 4.0 Organization Standards In The 4.0 Era. เรียกใช้เมื่อ 28 กรกฎาคม 2567. จากfile:///C:/Users/ASUS%20ZenBookDownloads/240239-Article%20Text-823832-1-10-20200301%20(1).pdf

วิทยาธร ท่อแก้ว. (2562). การออกแบบนโยบายและนวัตกรรมการสื่อสารนโยบายการพัฒนาท้องถิ่น. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารทางการเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2547). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่2).กรุงเทพมหานคร: เพียร์สัน. เอ็ด.

วสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์. (2564). Betagro 360 Transformation การเปลี่ยนแปลงก้าวสำคัญของบริษัทเบทาโกร จำกัด (มหาชน) สู่สังคมดิจิทัลด้วยนวัตกรรมเพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหารและความอร่อยที่เหนือระดับ พร้อมทางเลือกที่หลากหลายแก่ผู้บริโภค. เรียกใช้เมื่อ 28 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.betagro.com/th/management/board-ofdirectors/25/mr-vasit-taepaisitphongse เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎีและประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ

________. (2557). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ.

สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค พอยท์.

สายพิณ ปั้นทอง. (2563). กลยุทธ์การจัดการรูปแบบการทำงานเพื่อการพัฒนาสู่องค์ยุคใหม่. เรียกใช้เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2566จากhttps://publication.npru.ac.th/bitstream/123456789/1161/1/%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%95.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566- 2570). (พิมพ์ครั้งที่ 1 ) กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุจินต์ วิศวธีรานนท์. (2546). เอกสารการสอนชุดวิชาพฤติกรรมการสอนมัธยมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุนทร วงศ์ไวศยวรรณ. (2550). วัฒนธรรมองค์กร แนวคิด งานวิจัย และประสบการณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ โฟร์เพช,

สุระพันธ์ ฉันทะแดนสุวรรณ. (2553). หลักการบริหารธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: จุดทอง.

อรรถพล ประภาสโนบล. (2559). วิพากษ์วัฒนธรรมดิจิตอลผ่านปรัชญาการศึกษาของเปาโล แฟร์. วารสารปณิธาน. 12(1), 78-82.

อัจฉรา จุ้ยเจริญ. (2560). วัฒนธรรมองค์กรยุคดิจิทัล. เรียกใช้เมื่อ 28 กรกฎาคม 2567 จาก: https://www.posttoday.com/aec/column/513359?fbclid=IwAR1v

เอกชัย กี่สุขพันธุ์. (2538). การบริหาร ทักษะและการปฏิบัติ(พิมพ์ครั้งที่ 3). ไทยวัฒนาพานิช.

เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2560). The year of disruption. เรียกใช้เมื่อ 28 กรกฎาคม 2567 จาก http://tct.or.th/images/Article/ special_article/25610110/198410_disruption.pdf.

Bartol, M. K., and Martin, C. D. (1998). Management (3rd ed.). McGraw-Hill.

Deming in Mycoted. (2004). Plan Do Check Act (PDCA) (Online). Retrieved July 28, 2024, from http://www.mycoted.com/creativity/techniques/pdca.php

Gere, C. (2008). Digital culture (2nd ed.). Reaktion Books.

Herbert A. Simon. (1976) Administrative Behavior, 3 rd ed. New York :The Free Press.

Kaplan, J. (2015). Learning from Google’s digital culture. Retrieved July 12, 2024, From https://shorturl.asia/Gwe5f

Perter Drucker. (1998.) Perter Ducker on the Profession of Management. New York.

Sean Michael Kerner. (2022) What is digital culture and why is it important? Retrieved February 10, 2024 From www.techtarget.com

Sean Michael Kerner. (2024). Digital culture Retrieved July 28, 2024, From. https://www.techtarget.com/searchcio/definition/digital-culture

Snyder, C. R., & Lopez, S. J.(2007) Research on Apple Inc’s Current Developing Conditions Retrieved July 28, 2024, From Http://www.scirp.org/reference/referencespapers? referenceid=2319737

Steps Academy. (2019). Culture Organization and Personnel in Digital Era. Retrieved July 12, 2024, From https://stepstraining.co/foundation/team-culture-and-

Udapudi, A. (2019). What is digital culture and why it should matter to you. Retrieved May 8, 2024, From https://shorturl.asia/0J8sf.

World Economic Forum. (2021). Digital culture: the driving force of digital transformation. (n.p.)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-23