แนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 1

ผู้แต่ง

  • รัฐรินทร์ เกตุแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ศิริพล แสนบุญส่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • พรเทพ รู้แผน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, แนวทางการ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการ เรียนรู้เชิงรุกของครูในสถานศึกษา 2) นำเสนอแนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสถานศึกษา การวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยขั้นตอนนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบด้านสื่อและเทคโนโลยีของสถานศึกษา รวมทั้งสิ้น 118 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 นำเสนอแนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1  ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 12 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา  

          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการ เรียนรู้เชิงรุกของครูในสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการจัดสรรทรัพยากรสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตามการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ 2) แนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสถานศึกษา 6 ด้าน 18 แนวทาง ได้แก่ ด้านที่ 1 ด้านการกำหนดนโยบายและแผนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้านที่ 2 ด้านการจัดระบบโครงสร้างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้านที่ 3 ด้านการจัดสรรทรัพยากรสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้านที่ 4 ด้านการอบรมและพัฒนาครูเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้านที่ 5 ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตามการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้านที่6 ด้านการประเมินและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

References

พิทยพันธ์ พวงเดช. (2561). การจัดระบบสารสนเทศในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. ใน ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พุทธิพงษ์ ทองเขียว. (2562). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต1. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17(1), 1-12.

ไพบูรณ์ วงค์เมืองคำ และภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2563). แนวทางพัฒนาการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของสถานศึกษาในกลุ่มคลองน้ำไหล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(2), 52-63.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1. (2566).ระบบบริการข้อมูลภาครัฐ Big DATA. เรียกใชเมื่อ 18 ตุลาคม 2566 จาก https://bigdata.srb1.go.th/index.php?year=2566-1

สิรินภา จงทำมา. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของโรงเรียนเอกชนในกำกับของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (น. 7). มหาสารคาม: บัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุนิสา ดวงชตา. (2565). แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 20(2), 350-366.

Best, John W. & James V. Kahn. (1997). Research in Education. 7th ed. Boston : Allyn and Bacon.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Phychological Measurement. 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-19