แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้สู่มาตรฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างพลังอำนาจครู, จัดการเรียนรู้สู่มาตรฐานของสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจครูเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้สู่มาตรฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3 2) เสนอแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้สู่มาตรฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3 ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 314 คน สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 8 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
- 1. ระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจครูเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้สู่มาตรฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีความคิดเห็นมากที่สุดคือ ด้านการส่งเสริมภาวะผู้นำ รองลงมาคือ การให้เกียรติผู้ปฏิบัติงาน ด้านการติดตามการทำงาน ด้านการกำหนดเป้าหมายร่วม และน้อยที่สุดคือ ด้านการสนับสนุนทรัพยากร ตามลำดับ
- 2. แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้สู่มาตรฐานของสถานศึกษา ดังนี้ 1) ด้านการกำหนดเป้าหมายร่วม ประชุมจัดโครงสร้างและระบบในโรงเรียนการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน ส่งเสริมส่วนร่วมในการบริหารจัดการตัดสินใจร่วมกัน 2) การสนับสนุนทรัพยากร จัดการทรัพยากรอย่างเพียงพอเหมาะสม ส่งเสริมการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ทักษะ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือ 3) การติดตามการทำงาน มีระบบการนิเทศ พัฒนาเครือข่ายในสถานศึกษา ปรับปรุงและพัฒนาการทำงาน ใช้กระบวนการ PLC 4) การส่งเสริมภาวะผู้นำ มอบอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ ยอมรับข้อผิดพลาด สร้างการทำงานเป็นทีม และ 5) การให้เกียรติผู้ปฏิบัติงาน เคารพความคิดเห็น เชื่อมั่น ให้ความไว้วางใจสร้างบรรยากาศที่ดีเพื่อการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพบรรลุวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
References
กนิษฐา ทองเลิศ. (2563). รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนางานวิชาการของสถานศึกษา. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน, 5(2), น.533-548.
กระทรวงศึกษาธิการ.ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เรียกใช้เมื่อ 3 ธันวาคม 2566 จาก http://bet.obec.go.th/index/wp-ontent/uploads/dlm_uploads/2016/Ministry-of-education-Announcement-11_10_2016-1.pdf
ณัฐวุฒิ ปั้นเหน่งเพชร. (2559). แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจระดับบุคคลของครูอัตราจ้างในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ตรียพล โฉมไสว.(2563). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ปิยาภรณ์ พูลชัย. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2555 ศัพท์ศึกษาศาสตร์ (หน้า 195). กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
วิรันทร์ดา เสือจอย. (2564). การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Breeding, R.R. (2008). Empowerment and function of Contextual Self- Understanding. Rehabilitation Counselling Bulletin.
Scott C. D., Jaffe D T. (1991). Empowerment : Building a committed Workforce. California: Koga Page
Tracy, D. (1990). 10 Steps to Empowerment: A Common-Sense Guide to Managing People. New York: William Morrow.