ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้, ในยุคดิจิทัล, สถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ปัจจัยและระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา 2) ระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ของสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา และ 4) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ จำนวน 85 โรงเรียน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยเก็บข้อมูลจากผู้อำนวยการโรงเรียนและหัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 โดยค่าความเชื่อมั่นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาในยุคดิจิทัล เท่ากับ 0.95 และค่าความเชื่อมั่นการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สหสัมพันธ์พหุคูณ และสมการถดถอยพหุคูณแบบวิธีการคัดเลือกเข้า
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ได้แก่ 1) โครงสร้างองค์กรและการสื่อสาร 2) บรรยากาศที่สนับสนุนการเรียนรู้ 3) เทคโนโลยี 4) ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล 5) วัฒนธรรมองค์กร และ 6) การจูงใจ โดยระดับปัจจัยโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
- 2. การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
- 3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา กับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = 0.892
- 4. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ได้ร้อยละ 79.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กชนันท์ ศุขนิคม และ ศันสนีย์ จะสุวรรณ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา, 9(3), 104-113.
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุติรัตน์ กาญจนธนชัย. (2562). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการสร้างสถิติสาหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2551). ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาลในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เปรมศิริ เนื้อเย็น. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
พรรษา ไพรเลิศ. (2557). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
วรรณะ บุษบา. (2553). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). วิธีวิทยาการประเมินความสำเร็จของการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
สายรุ้ง เฟื่องสินธุ์. (2556). การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของโรงเรียนในสำนักงานเขตจอมทองสังกัดกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
สุภาวดี ลาภเจริญ, วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ และ อัจฉรา นิยมาภา. (2561). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 1(1), 81-98.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Marquardt, M. J. (1996). Building the learning organization: a systems approach to quantum improvement and global success. New York: McGraw-Hill.
Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the LearningOrganization. New York : McGraw – Hill.