แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตร่อนพิบูลย์ – จุฬาภรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • วิชัยรัตน์ ทองทิพย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สันติ อุนจะนำ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • ทิพมาศ เศวตวรโชติ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

การบริหาร, งานบุคคล, หลักพรหมวิหารธรรม, ผู้บริหาร

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในสหวิทยาเขตร่อนพิบูลย์ – จุฬาภรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในสหวิทยาเขตร่อนพิบูลย์ – จุฬาภรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในสหวิทยาเขตร่อนพิบูลย์ – จุฬาภรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ประชากร ได้แก่ ครูในสหวิทยาเขตร่อนพิบูลย์- จุฬาภรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 203 คน กลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcic and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 136 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตร่อนพิบูลย์ – จุฬาภรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
  2. สภาพปัญหา อุปสรรค และแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรควรเอาใจใส่ดูแล อบรมบุคลากร ไม่ควรปล่อยปละ ละเลยจนทำให้เกิดความเสียหาย ควรมีเมตตากับบุคลากรผู้ประสบปัญหาเป็นทุกข์ด้านจิตใจ เมื่อเข้าไปหาปรึกษาปัญหาแล้วทำให้เกิดความสุขใจ และควรมีเมตตาอบรมสั่งสอนเพื่อให้เกิดความสามัคคีร่วมกันบริหารงานของโรงเรียน    
  3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนควรอธิบายข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ด้วยความสุภาพ แสดงความเป็นกัลยาณมิตรอยู่เสมอ และควรหยิบยื่นความรักให้กับคนในองค์กรเสมอหน้ากันนั้น
    จะทำให้บุคลากรเกิดความศรัทธาเชื่อมั่นในตัวผู้บริหารผู้บริหารคิดนโยบายอะไรออกมาบุคลากรที่ได้รับความรักความเมตตาจะร่วมกันสานฝันเต็มที่ ร่วมด้วยช่วยกัน

References

กนก วงษ์ตระหง่าน. (2564). ครูลาออกทนภาระงานเอกสารไม่ไหวสะท้อนระบบการศึกษาล้มเหลว. เรียกใช้เมื่อ 16 ธันวาคม 2566 จากhttps://www.thansettakij.com/politics/503355.

กัณฑ์พงษ์ นามเสน่ห์. (2559). การปรับใช้หลักพรหมวิหาร 4 กับการบริหารบุคลากร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 1(2), 38.

กิตติยา สุขเกษม. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วารสารวิชาการ, 5 (2), 77.

พรนภา ชำนินอก. (2564). การใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการบริหารโรงเรียน ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการบริหารการศึกษายางตลาด 3 จังหวัดกาฬสินธุ์. ใน สารนิพนธ์ (ศษ.ม.) การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระทวีศักดิ์ คุตฺตสีโล (ไวชมภู). (2560). การบริหารโดยใช้หลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนปริยัติธรรม ในจังหวัดเลย. ใน วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตรฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส.อาร์. พริ้นดิ้ง แมส โปรดักส์จำกัด.

พระมหาชัยวัฒน์ จตฺตมโล (พรหมสนธิ). (2560). รูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธบริหารการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 4. ใน พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต พธ.ค. (พุทธบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมุห์สมนึก สมณธมฺโม (อุทัยแสงไพศาล). (2561). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของครูตามหลักพรหมวิหาร 4 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภรณี ลัคนาภิเศรษฐ์ และธนิสรา สุทธานันต์. (2564). ไม่ใช่เรื่องผิด ถ้าครูจะบอกว่า วันนี้ฉันรู้สึกไม่โอเค. เรียกใช้เมื่อ16 ธันวาคม 2566 จาก https://www.educathai.com/knowledge/articles/34.

มูนา จารง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะครูผู้สอนในศูนย์เครือข่ายตลิ่งชัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580). (2561). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุรศักดิ์ อุดเมืองเพีย (2559). แรงจูงใจในการทำงาน : ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้.มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน. วารสารอุบลปริทรรศน์, 5 (1), 424.

อุทิศ การเพียร. (2562). การบริหารบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 ในทัศนะของ บุคลากรตำแหน่งปฏิบัติ การวิชาชีพและบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-23