ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและสมรรถนะของปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, สมรรถนะ, ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล, ประสิทธิผลการบริหารจัดการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบล 2) วิเคราะห์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและสมรรถนะของปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชลบุรี และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชลบุรี เป็นวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ฝ่ายบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล ฝ่ายนิติบัญญัติขององค์การบริหารส่วนตำบล และพนักงานส่วนตำบล จำนวน 2,289 คน นำมาคำนวณขนาดกลุ่มวิตัวอย่างการโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 340 คน เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ นำไปหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ .93 .90 และ .94 และนำข้อมูลคุณภาพมาวิเคราะห์สรุปความตามเนื้อหา สถิติที่ใช้ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิผลการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย ระดับภาวะผู้การเปลี่ยนแปลง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัย 4 ด้านได้แก่ ด้านการบริหารตนเอง ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการสื่อสาร ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชลบุรี ได้ร้อยละ 71.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชลบุรี ต้องดำเนินการดังนี้ ด้านการบริหารตนเอง ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลควรวิเคราะห์ตนเองว่ามีจุดเด่น จุด ด้อยในเรื่องใด ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ควรหลีกเลี่ยงที่จะใช้อำนาจ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ควรเป็นผู้ที่ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาในการทำงานโดยใช้เหตุผลและข้อมูลหลักฐาน และด้านการสื่อสารผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ควรเลือกและใช้สื่อ และเทคนิควิธีการ ในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
References
กิตติศักดิ์ พรพรหมวินิจ. (2553). ประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะตามหลักการบริหารจัดการที่ดีกรณีศึกษาเทศบาลตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.
ดรุณี ขันขวา. (2551). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอหนองเรือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. ใน วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. การบริหารการศึกษา. ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิทัศน์ กับเป็ง. (2551). ประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์. (2549). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. (พิมพครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2550). องค์การและการบริหารจัดการ. นนทบุรี: ธิงค์บียอนด์บุ๊คส์.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). รูปแบบและองค์ประกอบของรูปแบบ. เอกสารประกอบการบรรยายรายวิชา สัมมนาการบริหารการศึกษา. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
อัญชลี ชุมนุม (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการมีส่วนร่วมที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินงาน ของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 4(2), 37-43.
Bums, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper & Row.
Bass, B. M. and Avolio, B. J. (1990). The four Is Transformational Leadership. Journal Of European Industrial Training, 15 (2).
Cronbach, L.J. (1971). Essentials of Psychological Testing. 5th ed. New York: Harper Collins.
Certo, Samuel C. (2000). Modern Management. New York: Prentice - Hall. Virtanen, 1996:56
Yamane Taro. (1970). Statistic: An Introductory Analysis. Tokyo: Harper International Edition.