ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาสุรินทร์
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเหนือผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษา, ส่งผลต่อการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครู 4) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ จำนวน 70 โรงเรียน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยเก็บข้อมูลจากผู้อำนวยการโรงเรียนและหัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 โดยค่าความเชื่อมั่นภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.98 และค่าความเชื่อมั่นการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครู เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย
ผลการวิจัยพบว่า
- ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
- การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
- ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครู ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = 0.723
- ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครู ได้ร้อยละ 52.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
References
กรมสามัญศึกษา. (2545). แนวทางการวิจัยในโรงเรียนมัธยมศึกษาระยะที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) กรมสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร: การศาสนา.
ชรินทร์ทิพย์ วงศ์ธรรม. (2565). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
บุญศรี พรหมมาพันธ์. (2563). เทคนิคการแปลผลการใช้สถิติพาราเมตริกและนันพาราเมตริกในการวิจัยทางสังคมศาสตร์.วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม.นนทบุรี:สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 10(1), 7-8.
เพ็ญศรี กัลป์ยาณกิตติ และ กนกอร สมปราชญ์. (2557).วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล จังหวัดหนองคาย. ในวิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณทิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิชญาภา ยืนยาว. (2560). ผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารการศึกษา (Super Leader Of Educational Administrators). มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ Veridian E-Journal,Silpakorn University, 11(1), 2856.
เรณุกา สุวรรณรัตน์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาวิทยาลัยครูสุริยเทพ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยรังสิต.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). การวิจัยและพัฒนารูปแบบกลไกการส่งเสริมการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา.กรุงเทพมหานคร: พริกหวาน กราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560).แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์.(2565). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2565. สุรินทร์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. (2566). การรายงานผลการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล. (ครั้งที่ 1) .สพม.สุรินทร์: จังหวัดสุรินทร์.
Senge, P. M. (1990).The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. New York: Doubleday.
Manz, C. C. & Sims, H. P. (2001). The New Superleadership Leading Others to Lead Themselves. San Francisco: Berrett-Koehler.