การวางแผนยุทธศาสตร์และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีผลต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • รัชพงศ์ ชูแก้ว มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • กานดา ผรณเกียรติ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • เบญยาศิริ งามสอาด มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การวางแผนยุทธศาสตร์, ประสิทธิผล, องค์การบริหารส่วนจังหวัด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา 2) วิเคราะห์การวางแผนยุทธศาสตร์และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีผลต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผนยุทธศาสตร์ของกลิกแมนกอร์ดอน และรอสกอร์ดอน การมีส่วนร่วมของประชาชนของ  Cohen and Upholf ประสิทธิผลของการบริหารจัดการของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  ประเภทของการวิจัยเป็นระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสานวิธี ประชากร คือ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดสงขลา จำนวน 996,055 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มีภูมิลำเนาใน จังหวัดสงขลา จำนวน 333 คน โดยได้มาจากวิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของเครชซี่และมอร์แกนและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิโดยอาศัยสัดส่วน   ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงของอำเภอในจังหวัดสงขลา จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เป็นชนิดการสัมภาษณ์เจาะลึก สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ 

ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. ระดับระดับประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
  2. 2. การวางแผนยุทธศาสตร์และการมีส่วนร่วมของประชาชนมีผลต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้ร้อยละ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. 3. แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ประกอบด้วยด้านสาธารณูปโภคชุมชน ด้านการประกอบอาชีพและด้านเศรษฐกิจของชุมชนด้วย ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยควรจัดให้มีอาสาสมัคร เวรยาม ด้านการบริการสาธารณสุขชุมชน และด้านพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

References

จินตกานด์ สุธรรมดี. (2563). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนาฝ่าย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(1) : 131-142.

ธนิศร ยืนยง (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครนายก. วารสาร มหาจุฬานาครทรรศน์, 5(2) : 119-135.

วิภาวรรณ เกิดผา และปรียานุช พรหมภาสิต. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของแผนพัฒนาสามปีของเทศบาลตำบล จังหวัดกำแพงเพชร. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดสงขลา. (2562). ข้อมูลสารสนเทศจังหวัดสงขลา. สงขลา: สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดสงขลา.

สำนักงานพระราชกฤษฎีกา. (2554). พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระราชกฤษฎีกา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

Bryson, John M. (1995). Strategic Planning for Public and Nonprofit Organization: A Guide to Strengthening Organization Achievement. San Francisco: Jossey-Bass Publishers.

Cohen, J.M. & Uphoff, N.T. (1980). "Participation's Place in Rural Development : Seeking Clarity Through Specialty," World Development, 8(3), 19.

Cronbach, L.J. (1971). Essentials of Psychological Testing. 5th ed. New York: Harper Collins.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607 – 610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-23