ภาวะผู้นำและคุณลักษณะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, ประสิทธิผล, การบริหารงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลในการบริหารงาน 2) วิเคราะห์ภาวะผู้นำและคุณลักษณะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผล และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฏร์ธานี กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำของ House คุณลักษณะผู้นำของ สตอกดิลล์ ประสิทธิผลในการบริหารงานของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ประเภทของการวิจัยเป็นระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสาน ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์บริหารส่วนตำบลจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 347,731 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์บริหารส่วนตำบลจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 384 คน โดยได้มาจากวิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และใช้แผนการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงในระดับอำเภอในจังหวัดสุราษฏร์ธานี จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 1. แบบสอบถามแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ พบว่ามีค่าความเชื่อมั่นได้ 0.92 และ 2.แบบสัมภาษณ์เป็นชนิดการสัมภาษณ์เจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. ระดับประสิทธิผลในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก
- 2. ภาวะผู้นำและคุณลักษณะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฏร์ธานีได้ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- 3. แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฏร์ธานี ประกอบด้วย ด้านสาธารณูปโภคชุมชน ด้านการประกอบอาชีพและด้านเศรษฐกิจของชุมชนด้วย ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ด้านการบริการสาธารณสุขชุมชน ด้านพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
References
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2556). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี. เรียกใช้เมื่อ 12 มกราคม 2567 จาก http://ww.dla.go.th/work/dlaPlan254-25557.pdf
จินตกานด์ สุธรรมดี. (2563). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนาฝ่าย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(1), 131-142.
บุญชม ศรีสะอาด. (2540). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยสาส์นการพิมพ์.
พระครูวิจิตรธรรมพิทักษ์ จนฺทสาโร (ชล พึ่งวิทย์ ). (2561). ภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานของคณะสงฆ์ ภาค 3. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปริญญา รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2555). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2562). รายงานประจำปี 2561. สุราษฎร์ธานี: ท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี.
สิริพงษ์ ปานจันทร์. (2554). ประสิทธิผลในการบริหารงานของเทศบาลตำบล ในจังหวัดนครปฐม. ในวิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Cronbach, L.J. (1971). Essentials of Psychological Testing. 5th ed. New York : Harper Collins.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.