แนวทางการส่งเสริมบทบาทของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
บทบาทครูปฐมวัย, เด็กปฐมวัย, บทบาทครูปฐมวัย เด็กปฐมวัย การจัดประสบการณ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูปฐมวัยต่อบทบาทของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล และ3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมบทบาทของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูปฐมวัย จำนวน 327 คน และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย LSD และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านจัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ด้านจัดกิจกรรมตรงกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ด้านการจัดประสบการณ์ ด้านตอบสนองต่อแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัยและด้านประสานผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูปฐมวัยจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 และ3) แนวทางส่งเสริมบทบาทของครูปฐมวัย คือ ครูปฐมวัยควรมุ่งจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะผู้เรียนในทุกด้าน และดำเนินการประเมินพัฒนาผู้เรียนตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual : DSPM) อย่างต่อเนื่อง
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ไอคิวเฉลี่ยเด็กไทยทะลุ 100 ครั้งแรก กทม. สูงสุด อีคิวเกณฑ์ปกติแม้เจอวิกฤตสังคม. เรียกใช้เมื่อ 5 ตุลาคม 2566 จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31866
ทัศพร เกตุถนอม (2567). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร เขตหลักสี่. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และ อัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
วศรุดา คงเพียรภาค. (2557). การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ส่วนนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2564-2569). (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักการศึกษา : กรุงเทพมหานคร
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. พิมพ์ครั้งที่ (1). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2564). แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 - 2570. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
นันทิยา น้อยจันทร์. (2565). แนวทางการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยตามกรอบมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 37(3), 11-22.
สำนักการศึกษา (2566). รายงานสถิติการศึกษา ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: พจน์กล่องกระดาษ.
สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง. (2565). รายงานประจำปี 2565 สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤษภาคม 2567 จาก mwi.anamai.moph.go.th/th/annual- report/download/?did=212466&id=101702&reload=
Amerijckx, G., & Humblet, C. P. (2015). The transition to preschool: a problem or an opportunity for children? A sociological perspective in the context of a ‘split system’. European Early Childhood Education Research Journal, 23(1), 99–111.
Brown, C. P., Ku, D. H., & Barry, D. P. (2021). Making sense of instruction within the changed kindergarten: perspectives from preservice early childhood educators and teacher educators. Journal of Early Childhood Teacher Education, 42(1), 20-52.
Koch, H., Kastner-Koller, U., Deimann, P., Kossmeier, C., Koitz, C., & Steiner, M. (2011). The development of kindergarten children as evaluated by their kindergarten teachers and mothers. Psychological Test and Assessment Modeling, 53(2), 241.
Zhang, Y., Chen, M., & Li, X. (2024). ‘Is it necessary to be male?’: A qualitative study of female kindergarten teachers’ views on physical activity for young children in China. Sport, Education and Society, 29(2), 132-145.