แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • เมธาพร ทองสุก มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ทรงเดช สอนใจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • วสันต์ชัย กากแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, สมรรถนะครูภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อพัฒนาแนวทางสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ และ3) เพื่อประเมินแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1,2 และ 3 จำนวน 136 คน และและครูสอนภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาสุรินทร์เขต 1,2 และ 3 จำนวน 136 คน รวมทั้งหมด 272 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลวิจัยพบว่า

          1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์  คือ (1) องค์ประกอบสมรรถนะครูภาษาอังกฤษ มี 3 สมรรถนะ 9 ด้าน (2) สภาพปัจจุบันของสมรรถนะครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) สภาพที่พึงประสงค์แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ศึกษาการพัฒนาแนวทางสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์  พบว่า มี 3 สมรรถนะ 9 องค์ประกอบ 30 แนวทาง 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ พบว่า องค์ประกอบสมรรถนะครูภาษาอังกฤษ 3 สมรรถนะ 9 ด้าน และ 30 แนวทางการพัฒนาโดยรวมมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรงศึกษาธิการ.

ชฎาพร สีหาวงค์. (2560). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สาหรับสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดลวรรณ พวงวิภาต. (2562). องค์ประกอบสมรรถนะครูภาษาอังกฤษของโรงเรียนประถมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีระศักดิ์ สินชัย. (2565). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีรียาสาสน์.

วัศยา เอกวิลัย. (2561). บทบาทของครูในการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในยุคประเทศไทย 4.0. ใน รายงานการประชุมวิชาการและเสนอผลงานระดับชาติ. (ครั้งที่ 1). ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

เยาวลักษณ์ มูลสระคู. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร: สํานักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ. เรียกใช้เมื่อ 5 กรกฎาคม 2566 จาก https://otepc.go.th/images/00_YEAR2564/03_PV1/1Mv9-2564.pdf.

สิริกร ชาลีกัน. (2563). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น. ใน ดุษฏีนิพนธ์. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยภาตะวันออกเฉียงเหนือ.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-23