ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดเลย
คำสำคัญ:
digital leadership, administrative effectiveness, effectiveness of school administration.บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา
2) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดเลย ปี พ.ศ. 2566 จำนวน 165 คน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.995 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า
1) ระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3) ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดเลย ที่นำมาวิเคราะห์อำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ตัวแปรที่มีอำนาจพยากรณ์ดีที่สุด คือด้านการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัล (X4) มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยการพยากรณ์ เท่ากับ .377 รองลงมา คือด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงาน (X3) มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยการพยากรณ์ เท่ากับ .252 และ ด้านฝึกอบรมพัฒนา และติดตามผลการปฏิบัติงาน (X5) มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยการพยากรณ์ เท่ากับ .207 ซึ่งตัวแปรทั้ง 3 ด้านนี้ สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดเลย ได้ร้อยละ 59.20 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานการพยากรณ์เท่ากับ .21913
สามารถเขียนสมการการวิเคราะห์พหุคูณถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
= 2.055+.252(X4) + .172 (X3) + .126 (X5)
= .377 (X4) + .252 (X3) + .207 (X5)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563 - 2565.
กันตชาติ กุดนอก. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ขวัญพิชชา มีแก้ว. (2562). การบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
จิตติ คู่กระสังข์. (2566). ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2.
ณณัฐ ช่วยงาน. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา. วารสารวิชาการการบริหารการศึกษา, 14(2), 112-127.
ณัฏฐิตา สงค์แก้ว. (2565). ภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่.การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. ใน สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ทิพวรรณ สำเภาแก้ว. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครินทร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุง (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุรีวิทยาสาส์น.
ปุณณิฐฐา มาเชค. (2566, 26 สิงหาคม). การบริหารองค์กรทางการศึกษาในยุคดิจิทัล. เรียกใช้เมื่อ 12 มากราคม 2566 จาก http://edadm.buu.ac.th/public/backend/upload/ed-adm.buu.ac.th/document/file/document166623381159360600.pdf.
สาวิตรี นุกูล. (2562). ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธา.
สิทธิชัย สอนสุภี, บุญฤทธิ์ เพ็ชรวิศิษฐ, เกื้อจิตต์ ฉิมทิม และ สุชญา โกมลวานิช. (2563, 27 มีนาคม). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. วารสารวิชาการ, 637.
สุชญา โกมลวานิช. (2563). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. ในวิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). แนวทางพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ เพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. เรียกใช้เมื่อ 12 มากราคม 2566 จาก https://www.ocsc.go.th/sites.
อดิเทพ เส็งสาย. (2565). การปรับตัวของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารการจัดการศึกษาและเทคโนโลยี, 7(1), 45-59.
อิสระภาพแห่งความคิด ไทยโพสต์. (2566, 2 กันยายน). สอศ. จัดตั้งสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัด 77 จังหวัด ขับเคลื่อนนโยบาย-กระจายอำนาจ. เรียกใช้เมื่อ 12 มากราคม 2566 จาก https://www.thaipost.net/news-update/319791/