ภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยน, ผู้บริหารสถานศึกษา, สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ จังหวัดเลยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ อายุ และประสบการณ์ในการทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัด กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดเลย จำนวน 167 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ทดสอบค่า
(t-Test) และการสังเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way Anova) การหาค่าความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทดสอบความแตกต่าง ค่าเฉลี่ยนเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’)
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดเลย พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านวิสัยทัศน์แบบองค์รวม ด้านการจัดการความรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การมีความท้าทายเชิงปรับเปลี่ยน
- ภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดเลย จำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน
- แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดเลย ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้ 1) สมรรถนะทางวัฒนธรรม ผู้บริหารควรมีการมีการสร้างความเข้าใจ ค่านิยม ความเชื่อ และวัฒนธรรม
2) การจัดการความรู้ ผู้บริหารควรมีการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ ฝึกเป็นคนช่างสังเกต ช่างคิดวิเคราะห์ 3) การสร้างความกลมเกลียว ผู้บริหารควรมีการยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน มีความรักความเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้อื่น 4) วิสัยทัศน์แบบองค์รวม ผู้บริหารควรมีการสร้างวิสัยทัศน์ของตน ทำความเข้าใจสภาพการณ์ของสังคมในปัจจุบันและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต 5) การมีความท้าทายเชิงปรับเปลี่ยน ผู้บริหารควรมีความฉลาดทางอารมณ์ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น มีความคิดสร้างสรรค์ และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง
References
กาญจนา ธานะ. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความฉลาดทางอารมณ์ สภาพแวดล้อมในการทำงานและภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเอกชน. กรุงเทพมหานคร: มหาบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นวรัตน์วดี ชินอัครวัฒน์. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนสำหรับหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน. ศึกษาดุษฎีบัณฑิต:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Bradberry, T., & Greaves, J. (2012). Leadership 2.0: Learn the secrets of adaptiveleadership. San Diego, CA: Talent Smart.
Glover, Jerry; Rainwater, Kelley; Jones, Gordon; Friedman, Harris. (2002). Adaptive leadership (Part Two): Four principles for being adaptive. Organization Development Journal.
Glover, J., Jone, G. & Friedman, H. (2002). Adaptive Leadership Theory, Adaptive Leadership: When change is not enough. Organization Development Journal.
Hogan, T. J. (2008). The adaptive leadership maturity model. OrganizationDevelopment Journal.Heifetz, R. and Donald L. [Reprinted by permission from Harvard Business Review (January-February 1997) : pages 124-134.] October16, 2016.
Heifetz, R. A., Linsky, M., & Grashow, A. (2009). The practice of adaptive leadership: Tools and tactics for changing your organization and the world. Cambridge: Harvard
Lewis, P.H. (2008). Readiness to Change toward Cultural Awareness and Sensitivity in a State Mental Health Organization. Verginia: Verginia Commonwealth University.
Mills, L. (2010). The Relationship Between Moral Reasoning and Knowledge Management Processing. U.S.A.: Walden University.
Pronovost, P., J. (2011). Navigating adaptive challenges in quality improvement.Retrieved August 19, 2016, from. http://qualitysafety.bmj.com/content/20/7/560
Rhead, S. (2011). Adaptive Leadership-Diagnose the system. Retrieved December 9,2016, from http://leadersinstituteofsa.wordpress.com/2011/09/13/Adaptive- Leadership-Diagnose-the-system.
Thomas, K. W., & Kilmann, R. H. (2008). Thomas-Kilmann Conflict Mode Instrument. Retrieved from http:// www. organizationimpact.
com/wpcontent/uploads/2016/08/TKI_Sample_ Report.pdf.