ความต้องการเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

ผู้แต่ง

  • ภูรินท์ พิงภูงา มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
  • ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

ความต้องการเพิ่มทักษะ การบริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความต้องการเพิ่มทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2 และ2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับความต้องการเพิ่มทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2  จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 196 คน ใช้วิธีสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความตรงตามเนื้อหารายข้ออยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ LSD

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการเพิ่มทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2  ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านบริหารงานทั่วไป ด้านบริหารงานวิชาการ ด้านบริหารงานงบประมาณ และด้านบริหารงานบุคคล และ2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู โดยภาพรวมเพศ อายุ ระดับการศึกษาตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีความคิดเห็นแตกต่างกัน

References

เกษม วัฒนชัย และคณะ. (2560). คุณธรรมสำหรับคุณหมอ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์.

กฤติภัทรกร ศิริภัทรนิธิโภคิน. (2564) การใช้เทคโนโลยีในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในยุควิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วารสารสืบเนื่องการประชุมหาดใหญ่ วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 โดยมหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 1344-1361.

จินตนา จุงใจ. (2560). แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2.

ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชยากร ทิพมาศ. (2565). แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1. วารสารพุทธศาสตร์ มจร.อุบลราชธานี. 5 (2), 1269-1280.

นพดล อารมณ์รัตน์. (2560) การบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประสาน บ้วนเพชร. (2555). การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ปิยะนุช บัวชุม. (2561). การใชเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

พรทิพย์ ไชยพนาพันธ์ (2564). ระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัลของผู้บริหาร สถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และคณะ. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

ศศิวิมล ลิ่วเวหา และลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์. (2565). การบริหารโรงเรียนขยายโอกาสโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8 (1), 256-271.

สิทธิชัย สีมี. (2566) .ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2551). สภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม พ.ศ.2551. เรียกใช้เมื่อ 3 มีนาคม 2555 จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/ servstat.html

อมรรัตน์ ดอนพิลา.(2566). ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาทักษะดิจิทัลของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อุทัย แดนพันธ์. (2557). สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-23