การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาไทยเพื่อพัฒนาการเขียนเชิงสร้างสรรค์และการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดเชิงรุก

ผู้แต่ง

  • อรรถพงษ์ ผิวเหลือง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • ณัฐกิตติ์ สิริวัฒนาทากุล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักสูตรฝึกอบรม, การเขียนเชิงสร้างสรรค์, การคิดสร้างสรรค์, แนวคิดเชิงรุก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรอบรมครูภาษาไทย 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาหลักสูตรอบรมครูภาษาไทย 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรอบรมครูภาษาไทย และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงหลักสูตรอบรมครูภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ครูผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา และนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยการเลือกแบบอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรม แบบทดสอบ แบบประเมินความสามารถ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยสรุปว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและหาความต้องการจําเป็น พบว่า ครูภาษาไทยมีความต้องการที่จะให้มีการฝึกอบรม ทั้งนี้ครูภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุกเป็นอย่างดี และต้องนำแนวคิดการเสริมสร้างการเขียนเชิงสร้างสรรค์และการคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน ใช้ในการพัฒนาผู้เรียน 2) ผลการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม พบว่าหลักสูตรฝึกอบรมฉบับร่างมีความสอดคล้องในภาพรวม ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (  =  4.71, S.D. = 0.58) และมีความเหมาะสมในภาพรวม ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (  = 4.61, S.D. = 0.60) 3) ผลการนําหลักสูตรไปทดลองใช้พบว่า ก่อนอบรมได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (   = 18.20, S.D.= 0.66) หลังอบรมได้ค่าเฉลี่ยเท่ากบ
(   = 28.25, S.D.= 0.57) หลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสําคัญ .05 ความสามารถการจัดการเรียนรู้ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (   = 4.55, S.D. = 0.58) 4) ผลการประเมินและปรับปรุงหลักสูตรพบว่า หลักสูตรฝึกอบรมครูเป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของครู และนําไปใช้เสริมสร้างการเขียนเชิงสร้างสรรค์และการคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนได้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร.

จันทรานี สงวนนาม. (2548). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: บุ๊คพอยท์.

ณัฐนิชา จิตตะคาม. (2561). การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแบบซินเนคติกส์ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ในปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ถวัลย์ มาศจรัส. (2546). การเขียนเชิงสร้างสรรค์เพื่อการศึกษาและอาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ธารอักษร.

พล พิมพ์โพธิ์. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดอรรถฐานร่วมกับรูปแบบการสอนซินเนคติกส์ที่มีต่อความสามารถในการเขียนร้อยกรองเชิงสร้างสรรค์และเจตคติต่อการเขียนร้อยกรองเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ในปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครวิโรฒ.

พีระพรรณ ทองศูนย์. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานใต้ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. ใน ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ตถาตาบลิเคชั่น.

ศศิธร ธัญลักษณานันท์. (2542). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและสืบค้น. กรุงเทพมหานคร: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

สมหวัง มหาวัง. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นในหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อติยศ สรรคบุรานุรักษ์ และ ธนาเทพ พรหมสุข. (2560). ซินเนคติกส์ : รูปแบบการสอนที่ส่งเสริมนวัตกรรมและกระบวนการคิดสร้างสรรค์ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 2555-2566.

อารี รังสินันท์. (2532). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

Guilford, J.P. (1959). Traits of Creativity. In: Anderson, H.H., Ed., Creativity and Its Cultivation, Harper & Row, New York, 142-161.

Getzels, J. (1962). Child development and personality. New York: Harper and Brotrers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29