แนวทางการพัฒนาทักษะดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
คำสำคัญ:
หลักอิทธิบาท 4, ความสุขในการปฏิบัติงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 2) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของครู 4) เพื่อศึกษาค้นคว้าตัวแปรพยากรณ์บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช จำนวน 337 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิด สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก
- ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับระดับความสุขในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา พบว่า โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด
- ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้หลักอิทธิบาท 4 โดยรวม (X) กับความสุขในการปฏิบัติงานของครู โดยรวม (Y) ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างสูง (r = .916) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอน พบว่า ตัวแปรตามหลักวิริยะ และตามหลักฉันทะ สามารถร่วมกันทำนายความสุขในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ซึ่งตัวแปรทั้ง 2 สามารถอธิบายการผันแปรที่มีต่อความสุขในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ได้ร้อยละ 92.3 (R2 = .923) ค่าความคลาดเคลื่อนที่จะเกิดจากการพยากรณ์ เท่ากับ 0.143 สามารถเขียนสมการได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y^ = 1.610 + 0.982 (X2) + 0.329 (X1)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z^ = 1.205 (X2) + 0.311 (X1)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
จันทร์จิรา พรหมเมตตา และคณะ. (2562). ทักษะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุขในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. พิฆเนศวร์สาร.
พจนรินทร์ เหลืองอรัญนภา. (2556). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี). (2551). คนสำราญงานสำเร็จ. (พิมพ์ครั้งที่14). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์.
ภัทรดนัย ฉลองบุญ. (2561). บทความความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6 (3).
ยุพิน ขุนทอง. (2560). การบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. ใน วิทยานิพนธ์ พธ.ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เสาวนีย์ ศรีบรรพต และนุชนรา รัตนศิระประภา. (2562). จรรยาบรรณของวิชาชีพกับความสุขในการทำงานในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.