การบริหารจัดการความร่วมมือเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การศึกษา ไทยกับจีนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษานนทบุรี
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, ความร่วมมือเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้, การศึกษาไทยจีนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการความร่วมมือเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การศึกษาไทยกับจีนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในการบริหารจัดการความร่วมมือเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การศึกษาไทยกับจีนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีจำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.67-1.00 ค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test independent) การวิเคราะห์ ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่ด้วย LSD
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการความร่วมมือเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การศึกษาไทยกับจีนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการจัดส่งครูสอนภาษาจีนในรูปแบบที่หลากหลาย ด้านการรับรองคุณภาพครูภาษาจีนนานาชาติ ด้านการส่งเสริมและขยายระบบการทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน ด้านการฝึกอบรมครูสอนภาษาจีนชาวไทย ด้านการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจีน และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน และ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อการบริหารจัดการความร่วมมือเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การศึกษาไทยกับจีนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำแนกตามเพศ พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ทำงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
จันจิรา หลงสลำ รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2562). การบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20, 15.
จิรพงษ์ นามมงคล. (2558). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการตามทรรศนะของผู้บริหารและละครูโรงเรียนเอกชนสามัญสอนภาษาจีน ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ในวิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ภูวกร ฉัตรบำรุงสุข. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และคณะ. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551). ความรวมมือไทย-จีนด้านการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยรายงานวิจัย (ฉบับที่ 5). กรุงเทพมหานคร: ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์-การพิมพ์.
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2565). กรอบความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาจีน ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยกับศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน. เรียกใช้เมื่อ 20 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.bic.moe.go.th/index. php/2531-mou-21-4-2565.html#
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กลุ่มนโยบายและแผน : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟิค.
Qin jing และ บุญเลิศ สองสวาง. (2558). การบริหารการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดปทุมธานี เขต 1. การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต. RSU National Research Conference 2015, 1489-1498.