การสอนของครูในศตวรรษที่ 21 : ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา

ผู้แต่ง

  • พนิตพิชาภัสส์ พินทะภูวงศ์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • นภาภรณ์ ธัญญา มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การเรียนการสอน, ศตวรรษที่ 21, โรงเรียนพระปริยัติธรรม

บทคัดย่อ

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน การศึกษาจึงต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบุคลากรทางพระพุทธศาสนา ก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้สอดคล้องกับบริบทปัจจุบันเช่นกัน บทความนี้จะกล่าวถึงบทบาทของครูในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา รวมถึงแนวทางการพัฒนาการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ให้มีความรู้ ความสามารถ และ ทักษะของครูที่สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางหรือเป้าหมาย และการสะท้อนตัวตนของครูผู้สอนว่ามีความสามารถการจัดการห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ การสอนที่มีประสิทธิภาพ การประเมินที่มีประสิทธิภาพ และทักษะด้านเทคโนโลยี ความสามารถการจัดการห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งครูในศตวรรษที่ 21 ภายในสังกัดโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ต้องสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การที่ครูทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ สนับสนุนให้ผู้เรียนพัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ ใช้เทคโนโลยีมาเป็นแรงกระตุ้น สรรหาเทคนิคการสอนแบบใหม่โดยสอดคล้องกับความจำเป็นเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่ทันสมัย มนุษย์ในยุคใหม่ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลาครูจะต้องฝึกนิสัยให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้ปรับเปลี่ยนความคิดได้ง่าย มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสอนวิธีเรียนมากกว่าสอนเนื้อหา เพราะเนื้อหาในยุคสมัยนี้มากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้อย่างพอเพียงมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา

References

กรมวิชาการ.กระทรวงศึกษาธิการ. (2535). ความคิดสร้างสรรค์ หลักการ ทฤษฏี การเรียนการสอนการวัดผลประเมินผล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ครุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และทีแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พริกหวานกราฟฟิค.

ฐิติวัสส์ หมั่นกิจ. (2565). ภาวะผู้นําเชิงคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 5(3),125-41.

พระครูสุตวรธรรมกิจ และ พระมหาพงศ์ทราทิตย์ สุธีโร.(2563).การพัฒนาครูไทยสู่ศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 5(2), 20-30.

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2553). คู่มือการจัดระบบการเรียน การสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: เทียนวัฒนา พริ้นท์ติ้ง

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2553) การพัฒนาการนิเทศเพื่อการบริหารคุณภาพทั้งองค์การ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. มหาวิทยาลัยทักษิณ: สงขลา.

วิชัย ธรรมเจริญ. (2541). คู่มือปฏิบัติการงานโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา.กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). ครูแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องช่วยแก้ไขความรู้ผิดๆ ของนักเรียน. เรียกใช้เมื่อ 18 กันยายน 2556, จาก http://lripsm.wix.com.

สุคนธ์ สินธพานนท์และคณะ. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของ เยาวชน. กรุงเทพมหานคร: 9199 เทคนิคพริ้นติ้งนิทาน.

สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2558). แผนยุทธศาสตร์ การจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พ.ศ.2558-2562. ม.ป.ท

Brookfield, S. D., & Brookfield, S. (1995). Becoming a critically reflective teacher.

Darling-Hammond, L. (1999). Teacher quality and student achievement. The 6 Most Important Decision You’ll Ever Make. New York: Fireside.

Hord, S. M. (1997). Professional Learning Communities: Communities of Continuous inquiry and improvement (Internet). Southwest Educational Development.

Hord, S. M., Roussin, J. L., & Sommers, W. A. (2010). Guiding professional learning communities: Inspiration, challenge, surprise, and meaning: Corwin Press

Wiggins, G. & McTighe, J. (1998). Understand by design. Virginia: Association for Supervision and Curriculum Development.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-23