แนวทางการพัฒนาการบริหารแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไท-ยวน ของสถานศึกษาในเขตเทศบาลเมืองสีคิ้ว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
คำสำคัญ:
การบริหารแหล่งเรียนรู้, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ไท-ยวนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งมีเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผสมผสานกับเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาสภาพการบริหารแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไท-ยวนของสถานศึกษาในเขตเทศบาลเมืองสีคิ้ว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา และ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไท-ยวนของสถานศึกษาในเขตเทศบาลเมืองสีคิ้ว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไท-ยวนของสถานศึกษาในเขตเทศบาลเมืองสีคิ้ว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา และขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไท-ยวนของสถานศึกษาในเขตเทศบาลเมืองสีคิ้ว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารและข้าราชการครู จำนวน 53 คน และตัวแทนจากชุมชนไท-ยวน จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสอบถามแบบมาตรส่วน 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์ครูผู้ดูแลรับผิดชอบการใช้แหล่งเรียนรู้จำนวน 2 คน และตัวแทนจากชุมชนไท-ยวน จำนวน 3 คน และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สรุปผลการวิเคราะห์จำแนกข้อความที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและนำเสนอในรูปของความเรียงเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ผลการวิจัย พบว่า
1) ขั้นตอนที่ 1 สภาพการบริหารแหลงเรียนรูของสถานศึกษาในเขตเทศบาลเมืองสีคิ้ว
อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา พบว่า โรงเรียนทั้ง 2 แห่งที่ทำการวิจัยมีการใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไท-ยวน โดยการบรรจุเป็นหลักสูตรท้องถิ่น และบูรณาการกับแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม ผลการศึกษาสภาพการบริหารแหลงเรียนรูของสถานศึกษาตามวงจร PDCA พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.84) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการวางแผนการใช้แหล่งเรียนรู้ (x̄ = 4.10) รองลงมาคือ การดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้ (x̄ = 4.10) และ การกำกับ ติดตาม ดูแล ตรวจสอบและประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้ (x̄ = 3.92) ตามลำดับ
2) ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไท-ยวน ในเขตเทศบาลเมืองสีคิ้ว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ผลจากการศึกษาสามารถสรุปแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไท-ยวน ได้ดังนี้
ด้านการวางแผนการใช้แหล่งเรียนรู้ ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนและประเมินการใชแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อหาความต้องการที่แท้จริงของการเรียนรู้ และเกิดความตระหนักและภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง
การดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้ ควรนำผลการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นไท-ยวนในกลุ่มสาระการเรียนรู้แต่ละกลุ่มมานำเสนอถึงวิธีการบูรณาการเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการบูรณาการการเรียนการสอนให้อาจารย์ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ไปปรับใช้เพิ่มเติม ควรมีการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นไท-ยวน จากปราชญ์ชาวบ้านที่เป็นคนเชื้อสายไท-ยวน ที่ยังคงวัฒนธรรมไท-ยวนทั้งการพูด การแต่งกาย และเรื่องอาหาร โดยการร่วมปฏิบัติจริงทั้งทางด้านการทอผ้า การทำอาหาร หรือภาษาท้องถิ่น ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้จริงและเป็นความรู้ที่จะติดตัวผู้เรียนไปตลอด ควรมีการติดตามการเรียนรู้ว่านักเรียนได้นำไปใช้ให้เกิดผลอย่างไรต่อการดำเนินชีวิตหรือนำไปต่อยอดอย่างไรบ้าง
การพัฒนาและปรับปรุงการใช้แหล่งเรียนรู้ ควรส่งเสริมให้มีคู่มือการใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไท-ยวน ควรมีการบันทึกวิธีการใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไท-ยวนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือจัดทำในรูปแบบอิเลกทรอนิคส์ต่างๆ เพื่อไม่ให้การเรียนรู้สูญหายไปกับบุคคล
References
กนกกาญจน์ ผาสุขนิตย์. (17 กรกฏาคม 2567). การใช้แหล่งเรียนรู้และแนวทางการพัฒนาการใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไท-ยวน อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา. (ณัทปภา สุริยะ)
กลัญญู เพชราภรณ์. (2564). การบูรณาการสื่อและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน. เอกสารประกอบการสอนวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 -2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.
กษมาพร ทองเอื้อ. (2563). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน. (พิมพครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน.
พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้. (2566). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนที่ 20 ก หน้า 60 (19 มีนาคม 2566).
เพียงดาว สภาทอง, ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร และปานเทพ ลาภเกสร. (2559). แนวทางการสืบทอดวัฒนธรรมและอาชีพการทอผ้าทอไท-ยวนของศูนย์วิสาหกิจชุมชนทอผ้า บ้านโนนกุ่ม อําเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(3), 77 – 83
ภิรพรรษ ปลิวจันทึก. (2561). การศึกษาอัตลักษณ์วิถีชุมชนไท-ยวนสีคิ้ว เพื่อออกแบบสื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว. ในวิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศรัญญา นาคาเริงฤทธิ์. (17 กรกฏาคม 2567). การใช้แหล่งเรียนรู้และแนวทางการพัฒนาการใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไท-ยวน อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา. (ณัทปภา สุริยะ)
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2542). มุ่งสู่คุณภาพการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพาณิชย์.
สุธัญญา สิทธิกุลเกียรติย์. (20 มกราคม 2567). การดำเนินงานและการใช้ศูนย์วัฒนธรรมไท-ยวน บ้านยวนนครจันทึก ตั้งอยู่ ณ วัดใหญ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา. (ณัทปภา สุริยะ)