ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • สุภาพร ศรีพรหม มหาวิทยาลัยมามกุฏราชวิทยาลัย
  • พิมพ์อร สดเอี่ยม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษา, ความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 2) เพื่อศึกษาระดับความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 324 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มหลายขั้นตอน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์สมการสันวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธี Stepwise เพื่อดูตัวแปรที่มีนัยสำคัญ และนำค่าสถิติที่ได้ไปสร้างสมการพยากรณ์

ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก
  2. ความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก
  3. 3. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู โดยรวม พบว่า
    มีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ 646
  4. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นตัวพยากรณ์ความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู มี 4 ด้าน คือ การมีทักษะและความรู้ดิจิทัล (x4) การสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล (x2) ความเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัล (x3) และการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล (x1) ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยหรืออำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 42.40 สามารถสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานตามวิธี (Stepwise) ดังต่อไปนี้

             สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Unstandardized Score)

                = 1.550 + 0.251(x4) + 0.132(x2) + 0.135(x3) + 0.102(x1)

             สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized Score)

                 =  0.311(x4) + 0.179(X2) + 0.168(x3) + 0.138(x1)

 

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. เรียกใช้เมื่อ 22 สิงหาคม 2566 จาก http://library.nhrc.or.th/ulib/dublin.php?ID=10558

กุลจิรา ยะศะนพ. (2567). ศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4 (1), 93- 112.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล Digital Leadership. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิษณุ ศรีกระกูล. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 8(31), 131-141.

ภัทรหทัย ภู่สวัสดิ์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์. ใน หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ภูรีรัตน์ สุกใส. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กับความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธ.

สุชญา โกมลวานิช. (2563). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะ ครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลยหนองบัวลำภู. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ.2566 – 2570. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2566 จาก https://www.sesao19.go.th/web/

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.). (2560). กรอบแนวคิดนวัตกรรม ใน เอกสารประกอบการประชุม ขับเคลื่อนแผนฯ 12 สู่อนาคตประเทศไทย. สศช: นนทบุรี.

องค์อร ประจันเขตต์. (2556). ประสบการณ์ของอาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบกต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารพยาบาลทหารบก. 14(3), 116-124.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.( pp.202-204)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-23