แนวทางการบริหารงานกิจกรรมนักเรียนของสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคกลาง 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ผู้แต่ง

  • นิรุตติ์ สระบัว สาขาวิขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ชัยยศ เดชสุระ สาขาวิขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • พรเทพ รู้แผน สาขาวิขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

แนวทางการบริหารงานกิจกรรมนักเรียน, งานกิจกรรมนักเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารงานกิจกรรมนักเรียน ของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานกิจกรรมนักเรียนของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  วิธีวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารงานกิจกรรมนักเรียน ของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ที่ปฏิบัติงานในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 254 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 2  เสนอแนวทางการบริหารงานกิจกรรมนักเรียน ของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 7 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารงานกิจกรรมนักเรียนของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการควบคุม รองลงมา คือ ด้านการจัดองค์กร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ  ด้านการวางแผน และ 2) การนำเสนอแนวทางการบริหารงานกิจกรรมนักเรียน ของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 4  ด้าน 26 รายการ ดังนี้ 
1) ด้านการวางแผน มีรายการปฏิบัติจำนวน 7 รายการ 2) ด้านการจัดองค์กร มีรายการปฏิบัติจำนวน 7 รายการ 3) ด้านการนำองค์กร มีรายการปฏิบัติจำนวน 8 รายการ 4) ด้านการควบคุม  มีรายการปฏิบัติจำนวน 4 รายการ

References

วรากร หิรัญมณีมาศ. (2556).การศึกษาการดําเนินงานพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

สมคิด บางโม. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2558จาก www.gotoknow.org.

ธีรศักดิ์ อุปรมัย. (2563). การบริหารและการจัดการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). รายงานการวิจัยเรื่อง การวิจัยและพัฒนาระบบการ ประเมินผลภายในของสถานศึกษา, กรุงเทพมหานคร: วี.ที.ซี คอมมิวนิเคชั่น

บัณฑิตย์ สิงห์ช่างชัย.(2558).สภาพการบริหารงานกิจการนักเรียน-นักศึกษา สถานศึกษา สังกัด สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัดอุบลราชธานี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

สุภาพร ภิรมย์เมือง.(2566). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับคุณภาพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุดใจ ดิลกฑรรศนนท์.(2562). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

Kezer, (2003). The relationship of student success to involvement inBurmett, Daria activities in a two-year institution. Los Angeles: University of southern California.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-23