แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
อาชีวศึกษาระบบทวิภาคี, การทำความร่วมมือบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและ 2) เพื่อนำเสนอแนวแนวทางพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยผสานวิธี โดยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 175 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 7 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงโดยใช้แบบสัมภาษณ์ซึ่งได้มาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาในรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการทำความร่วมมือ และด้านที่น้อยที่สุด คือ ด้านการจัดหลักสูตร ปัญหาของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถาน โดยภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณาในรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการจัดหลักสูตร และด้านที่น้อยที่สุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนและการฝึกอาชีพ 2) แนวทางมีการส่งเสริมให้สถานศึกษาและสถานประกอบการร่วมกันจัดทำแผนการฝึกอาชีพ และจัดการเรียนการสอนการฝึกอาชีพในสาขาวิชาชีพที่ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ สร้างแรงจูงใจให้สถานประประกอบการเข้าร่วมการจัดการศึกษา การสร้างภาพลักษณ์การเรียนวิชาชีพระบบทวิภาคีด้านโอกาสในการประกอบอาชีพ จัดระบบตรวจสอบความก้าวหน้าและรายงานผลการฝึกอาชีพของผู้ฝึกอาชีพ ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้ด้านวิชาการ และความสามารถด้านทักษะวิชาชีพ ตามจุดประสงค์การเรียนและสมรรถนะประจำรายวิชา
References
กรรัตน์ พิพัฒน์ผล.(2557). องค์ประกอบความสำเร็จของการจัดการอาชีวศึกษาในสถาน ประกอบการขนาดใหญ่. ใน ปริญญานิพนธ์ ศษ.ด. การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จินตนา รวมชมรัตน์.(2558) รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในวิทยาลัยอาชีวศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. ใน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเพื่อการพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ฉัตรชัย พุ่มชูศักดิ์.(2564). รูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. ใน หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นิพล แกวกาหลง.(2564). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร. ใน ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2562 (6 มีนาคม 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 56 ง หน้า 9 – 11.
ประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ.2562 (22 พฤษภาคม 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 130 ง หน้า 3 - 18.
ปรีดาวรรณ์ พุ่มจำปา.(2560). การประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น พุทธศักราช 2540 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ รายวิชาโปรแกรม MS-Windows, MS-Word, MS-Excel ของวิทยาลัยการอาชีพหันคา. ปีการศึกษา 2549
พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ.2551. (5 มีนาคม 2551). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 43 ก. หน้าที่ 1 – 25.
ภาตะวัน บุญจี๊ด.(2565). แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งในอำเภอศรีราชาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย การจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2562. (25 พฤศจิกายน 2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 289 ง หน้า 1 – 19.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2558). แนวทางปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาทวิภาคี ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2557. ม.ป.พ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (2560 – 2579). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค
สุทธิรักษ์ ทัศบุตร.(2564). การบริหารการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 21(1), 75-82.
อิสรียา ออสุวรรณ.(2559) แนวทางการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนระบบทวิภาคีในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.