การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของ ผู้บริหารสถานศึกษาในวิทยาลัยสารพัดช่างภาคกลาง

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา สุดารารัตน์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบ, ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21, การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการ จัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา, วิทยาลัยสารพัดช่างภาคกลาง

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในวิทยาลัยสารพัดช่างภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 61 คน และครูผู้สอนของวิทยาลัยสารพัดช่างภาคกลาง จำนวน 217 คน  ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นแบ่งชั้น จำแนกตามวิทยาลัยสารพัดช่างภาคกลาง รวมทั้งหมด จำนวน 278 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความตรงเชิงเนื้อหารายข้อเท่ากับ .67-1.00 และความเที่ยงเท่ากับ .984 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ

          ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในวิทยาลัยสารพัดช่างภาคกลาง มี 7 องค์ประกอบหลัก 39 ตัวแปร ประกอบด้วย ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ความคิดเชิงบูรณาการ ประกอบด้วย 12 ตัวแปร  องค์ประกอบที่ 2 วิสัยทัศน์ ประกอบด้วย 6 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 3  ความริเริ่มสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 4 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 4 การพัฒนาศักยภาพบุคลากร ประกอบด้วย 5 ตัวแปร  องค์ประกอบที่ 5 การทำงานเชิงรุก ประกอบด้วย 3 ตัวแปร  องค์ประกอบที่ 6 การมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 5 ตัวแปร และองค์ประกอบที่ 7 คุณธรรมจริยธรรม ประกอบด้วย 4 ตัวแปร 

References

คมกฤช พรหมฉิน. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

จิรัชญา ผาลา. (2558). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนในเขตภาคเหนือตอนบน. ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(1),132-142.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2560). ภาวะผู้นำทางการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญลักษณ์ เหล่าจันทร์. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้นำทางการศึกษากับกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2564). คุณลักษณะของผู้นำเชิงกลยุทธ์ (strategic leadership). เรียกใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 จาก https://www.popticles.com/business/strategic-leadership-characteristics/

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2563). นโยบายการขับเคลื่อนการอาชีวศึกษา ปีงบประมาณ 2564. สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา .

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564). จากhttps://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. (2562). สถิติอาชีวศึกษา. เรียกใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 จาก https://www.vec.go.th

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2560). การบริหารการศึกษาเพื่อร่วมสร้างประเทศไทย 4.0. (เอกสารสำเนา). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

สุเทพ แก่งสันเทียะ. (2564). อาชีวศึกษายกกำลังสอง. นโยบายและจุดเน้นการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี, เมื่อวันที่ 6 -7 ตุลาคม 2563.

Hair, J.F., W.C. Black, B.J. Babin and R.E. Anderson.(2010). Multivariate Data Analysis (7th ed). New Jersy: Pearson Educatio, Inc.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. In Educational and Psychological Measurement, 30 (3),607 – 610

Nahavandi, A & Malekzadeh, A.R. (19999). Organization Culture in the Management of Mergers. New York : Quorum Book.

Yukl, G. (1998). Managerial Leadership: A Review of Theory and Research. Journal of Management, 15, 251-289. http://dx.doi.org/10.1177/014920638901500207

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-23