คุณภาพการให้บริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
คุณภาพ, คุณภาพการให้บริการ, คณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ 3) เพื่อศึกษาเสนอแนวทางคุณภาพการให้บริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาลตำบลหนองบัวอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือผู้ปกครองของเด็กที่กำลังศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 210 คน โดยผู้วิจัยศึกษาข้อมูลจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่าที และใช้สถิติเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า
- คุณภาพการให้บริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.84) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ (μ = 3.95) รองลงมาคือด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ (μ = 3.86) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ (μ = 3.80)
- การเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยภาพรวมพบว่าผู้ปกครองที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้ปกครองที่มีเพศ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ไม่แตกต่างกัน
- แนวทางพัฒนาคุณภาพการให้บริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ควรมีการจัดหาเครื่องเล่นกลางแจ้งให้มีความเหมาะสม เพียงพอและปลอดภัยสำหรับเด็ก
References
ชวาลย์ ทัตศิวัช. (2565). แนวความคิดและทฤษฎีเชิงระบบในการศึกษาองค์การและ. การเมือง. ปทุมธานี: ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
เทศบาลตำบลหนองบัว. (2566).แผนการดำเนินงานประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2566. เทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี.
บุษกร รังษีภโนดร และ ธนัสถา โรจนตระกูล. (2565). คุณภาพของการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลนครพิษณุโลก. Journal of Modern Learning Development, 7(5), 301-313.
ปิยณัฐ จันทร์เกิด. (2560). คุณภาพการให้บริการของเทศบาลนครนครสวรรค์ตามการรับรู้ของประชาชน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
รมัทร์ ขันแก้ว และพิชิต รัชตพิบุลภพ. (2561). คุณภาพการให้บริการประชาชนของสถานีตำรวจในอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. ใน หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
ศิโรรัตน์ พัฒเวช. (2561). ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการให้บริการด้านโภชนาการสําหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตําบลลําเลียง อําเภอกระบุรี จังหวัดระนอง. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สิทธิกร สมบูรณ์พร้อม. (2563). คุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1990). Delivering quality service: Balancingcustomer perceptions and expectations. New york: The free press.