การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวคู อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, ประชาชน, การพัฒนาท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวคู 2) ศึกษาเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวคู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ 3) เป็นข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวคู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวคู 380 คน จากสูตร ทาโรยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ สถิติที และใช้สถิติเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวคู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการมีส่วนร่วมดำเนินการ
- การเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวคู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยภาพรวมประชาชนที่มีอาชีพต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวคู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวคู ไม่แตกต่างกัน
- แนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวคู ได้แก่ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ
References
แปลงแผนไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.
นุสรา พันธรักษ์. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษาพื้นที่ตำบล คลองจุก กระเฌอ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. ใน งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง (พนัสนิคม) คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปิยะ ประทีปรักมณี. (2546) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ชายทะเลบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พระชัชชัย สมนฺตาสาทิโก (มงคลเมือง) และคณะ. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 8(2), 27-38.
ศิรพณ โพธิอาภา. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของตำบลสวายปรอเตียล อำเภอสะอาง จังหวัดกันดาล.มหาวิทยาลัยเเม่โจ้.
ธนิศร ยืนยง. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดนครนายก. มหาวิทยาลัยปทุมธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(2), 119-135.
วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้าน ทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้าร้อน จังหวัดจันทบุรี. งานนิพนธ์ รป.ม. ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันพระปกเกล้า.
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวคู. (2566). รายงานผลการดำเนินงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวคู.อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี: องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวคู.
อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า. (2560). หลักธรรมาภิบาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 (ออนไลน์). เรียกใช้เมื่อ 12 เมษายน 2567 จากhttps://library2.parliament.go.th/ebook/contentissue/2560/hi2560-051.pdf.
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participations place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Developments.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper. & Row.