การบริหารการศึกษาตามหลักพุทธบูรณาการ
คำสำคัญ:
การบริหารการศึกษา, พระพุทธศาสนา, การบูรณาการบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการบริหารการศึกษาตามหลักพุทธบูรณาการ เป็นแนวทางที่ผสมผสานหลักธรรมทางพุทธศาสนาเข้ากับการบริหารการศึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนางานการศึกษาในทุก ๆด้านอย่างมีคุณภาพ และมีคุณธรรม เป็นการนำเอาหลักคำสอนและปรัชญาของพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการจัดการการศึกษา เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและสมดุลทั้งในด้านวิชาการ และจิตใจ แนวทางนี้เน้นการเจริญสติและสมาธิ เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการเชื่อมั่น และลดความเครียดของนักเรียน รวมถึงการปฏิบัติธรรมที่เน้นการนำศีล สมาธิ และปัญญามาใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งช่วยในการพัฒนาความคิดและการตัดสินใจที่มีคุณธรรม ทำให้การดำเนินชีวิตมีความสุข บทความนี้ได้กล่าวถึงหลักการสำคัญ ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา แนวคิดเกี่ยวกับพุทธบูรณาการ การบริหารการศึกษาตามหลักพุทธบูรณา วิธีการนำหลักพุทธบูรณาการไปใช้ในสถานศึกษา ตัวอย่างของการใช้หลักพุทธบูรณาการในสถานศึกษา และข้อดีและข้อจำกัดของการบริหารการศึกษาตามหลักพุทธบูรณาการ การบริหารการศึกษาตามหลักพุทธบูรณาการเป็นการผสมผสานหลักการทางพุทธศาสนากับการใช้ชีวิตในสถานศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและความสุขในจิตใจของนักเรียนและครูอย่างแท้จริง
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
เกษม วัฒนชัย. (2546). ธรรมาภิบาลกับบทบาทคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สํานักนโยบายและแผนการศึกษา.
______ (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการประยุกต์ใช้ในการดําเนินชีวิตและการพัฒนาองค์กร. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจ.
จันทรา อิ่มในบุญ. (2559). “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์กรของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17”. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ธีระ รุญเจริญ. (2562). ทิศทางการจัดการศึกษาเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0 ในยุคดิจิทัล. ในรวมบทความการบริหารการศึกษากับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สู่การศึกษาในยุคดิจิทัล ชุดที่ 1. อุบลราชธานี : วิทยาการพิมพ์ 1973.
นิรชา อภิชาต และวรกฤต เถื่อนช้าง. (2565). การบริหารสถานศึกษาสู่ความยั่งยืนตามหลักพุทธธรรม. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค, 10 (2), 76.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์. (2553). วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสังฆรักษ์ไชยรัตน์ ชยรตโน. (2558). การบริหารการศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตร้อยเอ็ด, 4 (2), 320 - 325.
พระมหาวีระ ธมฺมเตโช (ภัทรกรินทร์) และคณะ, (2564), การพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชลบุรี. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 8 (1), 300.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. (ป.อ. ปยุตฺโต) (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 40). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ ในเครือ บริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด.
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
อรุณี ทองนพคุณ. (2558). “การศึกษาบทบาทการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา”. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.