ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมเครือข่ายจิตอาสาของพระสงฆ์ เขตภาคกลางตอนล่างในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ปัจจัยการส่งเสริม, เครือข่ายจิตอาสา, พระสงฆ์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมเครือข่ายจิตอาสาของพระสงฆ์ในภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจากพระสงฆ์จำนวน 400 รูป โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควตา ข้อมูลที่ได้ถูกวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานผ่านการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมเครือข่ายจิตอาสาของพระสงฆ์ประกอบด้วย 1) เจตคติที่มีค่าเฉลี่ยสูง ( = 4.09) 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่มีค่าเฉลี่ยสูง
( = 3.99) 3) พฤติกรรมเชิงจริยธรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูง ( = 4.09) โดยการทดสอบค่าถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ พบว่าปัจจัยการรับรู้มุมมองร่วมกัน (X1) (ß = .264), ปัจจัยการมีส่วนร่วม (X4) (ß = .104), ปัจจัยการเสริมสร้าง (X5) (ß = .095), และปัจจัยการพึ่งพาอาศัยกันและกัน (X6) มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม (F = 132.725; p – Value = 0.001)
References
กัณธิชา เผือกเจริญ. (2555). ศึกษากระบวนการทำงานจิตอาสา : กรณีศึกษาการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย อโรคยาศาล. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. อยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์. (2550). สร้างสันติด้วยมือเรา. นครปฐม: ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2564). ภาคกลาง (ประเทศไทย). เรียกใช้เมื่อ 15 กรกฎาคม 2566 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87_(%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2)
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2560). จิตอาสาประชารัฐ. ปฏิบัติการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.
สุธาทิพย์ แก้วเกลี้ยง. (2549). การพัฒนาจิตอาสาในแนวพระพุทธศาสนา. ใน สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนากับการพัฒนา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุนทรพจน์ ดำรงพานิชย์. (2555). โปรแกรม Mplus กับการวิเคราะห์ข้อมูล. พฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยสารคาม.
สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.