การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำเพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นให้แก่นักศึกษาสาขารัฐประศาสนศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
คำสำคัญ:
การพัฒนาภาวะผู้นำ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำเพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้แก่นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานโดยดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาแผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้แผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี แขนงการบริหารงานท้องถิ่น ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 80 คน ขั้นตอนที่ 4 ปรับปรุงแผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินภาวะผู้นำในการบริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น ทำการประเมินโดยผู้สอน และ ผู้เรียน 2) และ แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, และการทดสอบ t
ผลการวิจัยพบว่า 1) ก่อนและหลัง การใช้แผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน นักศึกษามีผลการประเมินภาวะผู้นำในการบริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีผลการประเมินภาวะผู้นำในการบริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นในระดับมาก = 4.39, S.D. = 2.67 สูงกว่าก่อนการฝึกอบรมที่อยู่ในระดับน้อย = 2.78, S.D. = 2.67 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำเพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นให้แก่นักศึกษาสาขารัฐประศาสนศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน รวมทุกด้าน อยู่ในระดับ มากที่สุด = 4.59, S.D. = 0.87 โดยมีความพึงพอใจด้านวิทยากร (ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น) สูงที่สุด = 4.81, S.D. = 0.25, รองลงมาคือ ด้านการวัดและประเมินผล = 4.79, S.D. = 0.54, ด้านรูปแบบการจัดการเรียนการสอน = 4.61, S.D. = 1.24 ด้านเนื้อหา = 4.54, S.D. = 1.01 ด้านอาจารย์ผู้จัดกิจกรรม = 4.47, S.D. = 1.09, และ ด้านระยะเวลา = 4.30, S.D. = 1.08 ตามลำดับ
References
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2555). การปกครองท้องถิ่น. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2566 จาก https://web.parliament.go.th/view/9/secretariat/TH-TH
อนุรัตน์ อนันทนาธร. (2561). ความรู้เกี่ยวกับการบริหารส่วนท้องถิ่น. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2566.
http://www.bangpakongcity.go.th/news/doc_download/a_190918_115613.pdf
ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เนติกุลการพิมพ์.
มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี. (2564). หลักสูตรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. เรียกใช้เมื่อ 16 ธันวาคม 2566 จากhttps://acad.pbru.ac.th/acad58/index.php/academic-job/pbru-course/faculty-of-humanities-and-social-sciences
Barkley, A. Barbara; Yoder, Sandy & West, L. Lynda. (2003). Community-Based Instruction: A Guidebook for Teachers. Virginia: Council for Exceptional Children. History of Community-Based Learning. 2013: Retrieved April 27, 2024 http://academics.holycross.edu/files/cb/Introduction_to_Commty-Bsed-Learning.pdf
Barrett, Michelle Sterk. (2012). An Introduction to Community-Based Leaming. Retrieved April 27, 2024, from http://academics.holycross.edu/files/cbl/Introduction to Community-Based Learning.pdf
Part 3: Benefits & model of CBL/CBR. (2013). Retrieved April 28, 2024, from http://www.clarku.edu/community/pdfs/Part%20111%20Benefits%20&20%20Models.pdf
Thomas R. Owen; & Changhua Wang. (1996). Community-based learning: A foundation for meaningful education reform. University of Nebraska at Omaha Dr. C.C. and Mabel L. Criss Library, Retrieved December 9, 2023, from https://digitalcommons.unomaha.edu/slceslgen/37/
Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nd Edition. New York: Harper and Row.