การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลและความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ปัทมา คุณสืบพงษ์พันธ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ธรรมาภิบาล, ความผูกพันต่อองค์การ, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานของบุคลากรของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 2) วิเคราะห์การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลและความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานของบุคลากรของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 3) เสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานของบุคลากรของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี
การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 315 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

          ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่ค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ธรรมนูญในองค์กรหรือประชาธิปไตยในองค์กร รองลงมาคือ ลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และน้อยที่สุดคือ ความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว 2) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร ได้แก่ หลักตอบสนอง หลักการมีส่วนร่วม ด้านภาวะผู้นำ และหลักมุ่งเน้นฉันทามติ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานของบุคลากรของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ในจังหวัดชลบุรี มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานของบุคลากรของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ในจังหวัดชลบุรี จัดอบรมให้ความรู้และทักษะใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะให้ทันสมัย สนับสนุนให้บุคลากรศึกษ

References

ณฐกร โสภาวนัส และวอนชนก ไชยสุนทร. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กรที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ. วารสารการบริหารและจัดการ. 7(2). 1-19.

รัชดากร ทมินเหมย. (2556). หลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดน่าน. นครราชสีมา: คณะรัฐศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา.

วรรณา วงษธง. (2566). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิทยาการจัดการ. 7(2), 90-105.

สุกานดา ศุภคติสันติ์. (2560). ลักษณะส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน : กรณีศึกษา บริษัทเงินทุนในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี. (2566). จำนวนบุคลากรของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี.

________. (2557). รายงานการประเมินคุณภาพชีวิตการทำงานและความสุขของข้าราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี พ.ศ.2557. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักอำนวยการสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

เสน่ห์ จุ้ยโต. (2557). มิติใหม่การบริหารธรรมาภิบาลขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี: สำนึกพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Childers, T.L, & Rao, A.R. (1992). The influence of familial and peer-based reference groups onconsumer decisions. Journal of Consumer Research. 19(1), 198-211.

Graham John et.al. (2003). Principles for Good Governance in the 21st Century. Ottawa: Institute on Governance.

Mowday, R.T. et.al. (1979). The Measure of Organization Commitment. Journal of Vocational Behavior, 14(2), 224-247.

Yamane, T. (1973). Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29