ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในยุค 4.0 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • ชิษณพงศ์ ศรจันทร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • ประดิษฐ์ ศรีโนนยาง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ยุค 4.0, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในยุค 4.0 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ และ
4) สร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารและครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาวะผู้นำทางวิชาการ เท่ากับ 0.95 แบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการเท่ากับ 0.93 และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในยุค 4.0 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ มี 3 ปัจจัยคือการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน การสร้างบรรยากาศทางวิชาการ และการนิเทศและประเมินผลการสอน โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการได้ร้อยละ 72

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กระทรวงศึกษาธิการ.

ธีระ รุญเจริญ. (2563). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูป การศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). ข้าวฟ่าง.

รุ่ง แก้วแดง. (2562). การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(2), 85-97.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2564). การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้เชิงรุกใน ยุคดิจิทัล. ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2564). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. ทิพยวิสุทธิ์.

วิจารณ์ พานิช. (2565). การบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัล. มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วิเชียร พันธ์เครือบุตร, สมชาย วงษ์เกษม, และสุภาพร พรมมะลิ. (2565). สภาพการ บริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 16(1), 85-94.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2564. สถาบันทดสอบทางการศึกษา แห่งชาติ.

สมชาย วงษ์เกษม, วิเชียร พันธ์เครือบุตร, และสุภาพร พรมมะลิ. (2564). การสำรวจความ พร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 44(2), 52-63.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. สำนักทดสอบทางการศึกษา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. (2565). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566-2570. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2564. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย. (2567). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดเลย พ.ศ. 2566-2568. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล: แนวคิด วิธีการ และนวัตกรรม. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2563). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Barney, J. (1991). Firm resources and sustained competitive advantage. Journal of Management, 17(1), 99-120.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Improving organizational effectiveness through transformational leadership. Sage.

Datnow, A., & Park, V. (2014). Data-driven leadership. Jossey-Bass.

Earl, L. M. (2013). Assessment as learning: Using classroom assessment to maximize student learning. Corwin Press.

Fullan, M. (2014). The principal: Three keys to maximizing impact. Jossey-Bass.

Glickman, C. D., Gordon, S. P., & Ross-Gordon, J. M. (2018). Supervision and instructional leadership: A developmental approach (10th ed.). Pearson.

Hallinger, P., & Murphy, J. (1985). Assessing the instructional management behavior of principals. The Elementary School Journal, 86(2), 217-247.

Harris, A. (2013). Distributed leadership: Friend or foe? Educational Management Administration & Leadership, 41(5), 545-554.

Hattie, J. (2015). What works best in education: The politics of collaborative expertise. Pearson.

Hersey, P., & Blanchard, K. H. (1969). Management of organizational behavior: Utilizing human resources. Prentice-Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Sheninger, E. (2019). Digital leadership: Changing paradigms for changing times. Corwin Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29