การประเมินปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
คำสำคัญ:
การประเมิน, หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และการวัดและการประเมินผล ของหลักสูตรและการเรียนการสอนในรายวิชาเฉพาะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา พ.ศ. 2564 2) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากอาจารย์ประจำหลักสูตรอาจารย์พิเศษ จำนวน 7 รูป/คน คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่คณะสังคมศาสตร์ จำนวน 10 รูป/คน นักศึกษาในสาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 12 รูป/คน และบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา จำนวน 5 รูป/คน รวมทั้งสิ้น 34 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติ เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลประเมินด้านบริบท พบว่า นักศึกษาและบัณฑิตส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรอยู่ในระดับมาก ด้านโครงสร้างของหลักสูตรมีความเหมาะสมมากที่สุด (หมวดวิชาเอกบังคับ) มีจำนวนหน่วยกิตเหมาะสมมากที่สุด รายวิชาเฉพาะในหลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ปี พ.ศ. 2564 โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านการวัดและการประเมินผล พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) แนวทางในการพัฒนาหลักสูตร แบ่งเป็น 2 ประเด็นคือ
1. การจัดทำหลักสูตร ควรมุ่งเน้นความสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติมในปีการศึกษา 2567 โดยที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ควรปรับปรุงเพื่อให้เป็นหลักสูตรแบบก้าวหน้าทางวิชาการ เสริมศักยภาพของนักศึกษาโดยให้ศึกษาบางรายวิชาในระดับบัณฑิตศึกษา และสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ทำวิจัยทางวิชาการที่ลุ่มลึก 2. การบริหารหลักสูตร ควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการประเมินปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร
References
กรภัสสร อินทรบำรุง. (2558). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. VERIDIAN E-JOURNAL SLIPAKORN UNIVERSITY, (8)1, 700-713.
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน, ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย, อุบลวรรณ ส่งเสริม, สุวิมล สพฤกษ์ศรี, นิวัฒน์ บุญสม และ กิตติคม คาวีรัตน์. (2566). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 21(2), 107-121.
ชุติระ ระบอบ, สิทธิโชค สินรัตน์, ชีระวิทย์ สุรีรัตนันท์, พิษณุ วรรณกูล, และ พิมสิริ ภู่ตระกูล. (2561). วิจัยประเมินหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 10(1), 123-140.
ปิยะธิดา ปัญญา. (2562). การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 13(2), 179-193.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์, สุภมาส อังศุโชติ และ อัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS. (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สมจิตรา เรืองศรี, ทวิกา ตั้งประเภา และ เยาวภา แสนเขียว. (2560). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประเมินและการวิจัยการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(1), 51-71.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566—2570). ราชกิจจานุเบกษา. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/258/T_0001.PDF
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2564). แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 –2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 – 2570. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กองยุทธศาสตร์และแผนงาน.
Mahshid AbdiShahshahani et.,al. (2015). The Evaluation of Reproductive Health PhD Program in Iran: A CIPP Model Approach. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 197(2015), 88–97.