การศึกษาความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ผู้แต่ง

  • อภิเดช โยชน์เยื้อน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • กรวิกา สุวรรณกูล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • วีนัส ภักดิ์นรา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ปารีญา ราพา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

ความต้องการศึกษาต่อ, ปริญญาโท, จิตวิทยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโท     สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ปีการศึกษา 2567 จำนวน 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความสนใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำนวน 305 คน คิดเป็นร้อยละ 61.0 และไม่มีความสนใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาจิตวิทยา                คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำนวน 195 คน คิดเป็นร้อยละ 39.0 และมีความคิดเห็นต่อปัจจัยในการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา ด้านภาพลักษณ์ของคณะ          ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.60, S.D. = .48) ด้านหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาจิตวิทยา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.63, S.D. = .46) และด้านอื่น ๆ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก              (  = 4.19, S.D. = .62)   

References

กรมสุขภาพจิต. (2562). WHO ปลุกมนุษยชาติยังบั้งปัญหาฆ่าตัวตาย สร้างภูมิคุ้มกันด้วยมุมมองใหม่ต่อจิตแพทย์. เรียกใช้เมื่อ 15 ธันวาคม 2566 จากhttps://www.hfocus.org/content/2019/10/17905.

ทัศนี ทัศศรี . (2558). การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทสาขาวิชาการผังเมืองคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมและการผังเมือง. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไออินเตอร์ มีเดียจำกัด.

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2547). พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ. เรียกใช้เมื่อ 24 ธันวาคม 2566 จาก https://lru.ac.th/th/?page_id=2612.

วารุณี รักด้วง. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยสยาม. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยสยาม.

สรุชาติ ณ หนองคาย. (2563). จิตวิทยาการทำงาน. เรียกใช้เมื่อ 24 ธันวาคม 2565 จากhttps://phad.ph.mahidol.ac.th/services/knowledge/administration.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2561). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการ พัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

อริสา สำรอง, รังสิมา หอมเศรษฐี และพีสสลัลฌ์ ธำรงศ์วรกุล. (2564). ความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 4(2) , 91-102.

Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A first course in factor analysis. Lawrence Erlbaum Associates, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29