การพัฒนารูปแบบสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • ชนะวิน แสงทามาตย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • เกศริน มนูญผล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สรัญญา แสงอัมพร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบสถานศึกษา, องค์กรแห่งนวัตกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรมสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อร่างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรมสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในศตวรรษที่ 21 และ 3)  เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรมสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูโรงเรียนละ 1 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาของจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 เขตพื้นที่ จำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .887 และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

   ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาของการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรมสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 พบว่าสภาพการดำเนินการหรือการปฏิบัติ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และผลการศึกษาปัญหาของการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรมสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 10 ด้าน เรียงจากลำดับที่มีการดำเนินการน้อยหรือมีปัญหามากที่สุด ได้แก่ 1) ด้านการสื่อสาร 2) ด้านการมีส่วนร่วมในนวัตกรรม 3) ด้านการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร 4) ด้านวิสัยทัศน์ร่วม 5) ด้านสถานศึกษาแห่งการเรียนรู้ 6) ด้านบรรยากาศสร้างสรรค์ 7) ด้านบุคคลสำคัญ 8) ด้านปัจจัยภายนอก 9) ด้านโครงสร้างองค์กร และ 10) ด้านทีมงานที่มีประสิทธิภาพ 2. ผลการร่างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรมสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในศตวรรษที่ 21 โดยประเมินและรับรองจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ประเด็นด้านความถูกต้องและด้านความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรมสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในศตวรรษที่ 21 ประเด็นด้านความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด

References

ขวัญชนก แสงท่านั่ง. (2563). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรมสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

จักภัทสรัณย์ ไตรรัตน์. (2563). การพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรนวัตกรรม กรณีศึกษา: โรงเรียนในสหวิทยา เขต วิภาวดี. วารสารการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต. มหาวิทยาลัยรังสิต. มหาวิทยาลัยรังสิต.

ณัฏฐ์ โอ้จินดา. (2563). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก ในสานักงานศึกษาธิการภาค 13. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

นวชล สมบูรณ์สิน. (2564). รูปแบบการจัดการนวัตกรรมทางการบริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบันฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปกรณ์ ประจันบาน. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

วัฒนชัย ศิริญาณ. (2560). รูปแบบที่ส่งเสริมให้เกิดองค์การแห่งนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). นโยบายและยุทธศาสตร์การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศของประเทศกลุ่มอาเซียนบวกสาม: กรณีประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี. (2561). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

อำนาท เหลือน้อย. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมาตรฐานสากล. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ไอริน โรจน์รักษ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นองค์การนวัตกรรมกับสมรรถนะในการสร้างสรรค์นวัตกรรม : กรณีศึกษาสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์, 2(2), 2-3.

Adams, R., Bessant, J. & Phelps, P. (2006). Innovation Management: A Review International. Journal of Management Reviews, 8(10), 21-47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30